ชัยวัฒน์ สุรวิชัย สิทธิเสรีภาพและหน้าที่ความรับผิดชอบ  สองมาตรฐาน  ข้ออ้างส่วนตน หรือ  ความชอบธรรมส่วนรวม เป็นเรื่องที่มีช่องว่างระหว่างบรรทัด ระหว่าง ถูกผิด , เห็นด้วย คัดค้าน , จริงหรือเท็จ , ส่วนตัวส่วนรวม,ซึ่งจะต้องดูทั้งหลักการ และความเป็นจริง เพราะ บางเรื่องหลักการดี แต่ ความจริงกลับไม่ใช่บางครั้ง  ในระบบอุปถัมภ์ของสังคมไทย  ความเป็นพรรคพวก  องค์กร สถาบันเดียวกัน  ก็ช่วยกันไปโดยไม่สนใจถูกผิด เอาผลประโยชน์ส่วนตัวกลุ่มองค์กร มากก่อนผลประโยชน์ส่วนรวมของสังคมที่ใหญ่ไม่เข้าใจถ่องแท้ ถึงความถูกต้องชอบธรรม  หากเพื่อนทำผิด ต้องเตือน ไม่ใช่เออออห่อหมกทำผิดตาม ลองพิจารณาตัวอย่างในบางเรื่องที่ยกมาแลกคิดกัน  1.  ประกาศใช้พรบ.กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ให้นายจ้างหักเงินเดือนใช้หนี้ รัฐละเมิดไหม ที่ไปหักเงินเดือนคนทำงาน กับ คนกู้เงินรัฐเรียน แต่เบี้ยวหนี้ หลายหมื่นคนหลายล้านบาท เพราะนักสิทธิบางคน  จะอ้างถึง ความเป็นสิทธิส่วนตัวในเรื่องเงินเดือน  ที่ต้องได้รับเต็ม นายจ้างไปหักไม่ได้ แล้วให้เขาใช้สิทธิวินิจฉัยว่า   “ จะจ่ายคืน จากการที่ได้กู้เงินรัฐมาเรียนจนจบการศึกษา “ ผลที่เกิดขึ้น   คือ   “ คนที่กู้เงินหลวงไปเรียน  และมีงานทำแล้ว ไม่ยอมจ่ายคืน  มีจำนวนไม่น้อย  “ ทำให้โครงการให้กู้เงินเรียนฯ สะดุดติดขัด   ขาดเงิรที่จะให้นักเรียนที่มีความจำเป็นกู้ไปเรียนอะไร  คือ  ความถูกต้อง  :   สิทธิเสรีภาพ   กับ  หน้าที่และความรับผิดชอบ ฯ 2.  สปท.เดินหน้าดันกฎหมายตั้งสภาองค์กรวิชาชีพ 30 องค์กรสื่อ ออกมาคัดค้าน คอลัมน์นิสต์ ออกมาหนุนสื่อ วิจารณ์รัฐว่ารวบอำนาจ แทรกแซงสื่อฯ  มันปนกันระหว่างสื่อดี และสื่อไม่ดี รวมทั้งสื่อของกลุ่มทุนของพรรคการเมือง แล้วสื่อก็คุมกันไม่ได้ ปิดปากสื่อ = ปิดปากประชาชน จริงฤา  แล้วประชาชน ที่ถูกสื่อมอมเมา บิดเบือน ให้ข่าวเท็จ ไม่ครบ  ทำให้สับสน  รับข้อมูลผิด จะทำอย่างไร ดีที่ยังมีสื่อที่ดี อยากจะเห็น “ สื่อมีความรับผิดชอบ-จรรยาบรรณ-ความรับผิดชอบ ฯ “ ออกมาเตือนกัน เรื่องนี้ ต้องดูจาก สภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในสังคมไทยขณะนี้ สื่อไทย   มีจรรยาบรรณ มีความรับผิดชอบ  มีคุณธรรม   คือ เป็นสื่อที่เสนอความจริง เอาประชาชนมาก่อน หรือ  สื่อขาดความรับผิดชอบต่อส่วนรวม  เอาผลประโยชน์ของตน เจ้าของสื่อ หรือ นักการเมืองที่อุปถัมภ์ สื่อต้องยอมรับว่า   “ มีสื่อดีและไม่ดีฯ  “  สื่อมีนายทุนมาเป็นเจ้าของ ที่ลงทุนหลายพันล้าน เป็นธุรกิจกัน มีสื่อบางส่วน  ได้นายทุนที่ดีมีจรรยาบรรณ มีความรับผิดชอบ  ก็ทำหน้าที่เป็นสื่อที่ดีอยู่ แต่สื่อไม่น้อย  เจ้าของเอาธุรกิจมาก่อนจรรยาบรรณของสื่อ  หรืออย่างเก่งก็วัดครึ่งกรรมการครึ่ง และมีสื่อที่ขาดทุน เมื่อมีการเพิ่มทุน ขาดเงิน  ก็ขายหุ้นให้นายทุนการเมือง  จึงไม่อิสระดังเดิม ยิ่งนายทุนเจ้าของพรรคการเมือง ลงมาเล่นเอง  ใช้สื่อเป็นเครื่องมือการเมืองของฝ่ายตน ตั้งแต่   การเลือกตั้ง  การใช้สื่อสนับสนุนอภิมหาโครงการของพรรคตน  ปกป้องการทุจริตของรัฐมนตรีของตน ขณะเดียวก็โจมตีใส่ร้ายป้ายสี นักการเมืองพรรคการเมืองคู่แข่ง  หรือผู้นำประชาชนที่ออกมาเปิดโปงฯ และเมื่อพรรคของตนเป็นฝ่ายค้าน  ก็จะโจมตีใส่ร้าย บิดเบือน  ไม่เคยชมเมื่อทำดี แต่กระหน่ำเมื่อผิดพลาด เรื่องนี้ นักการเมืองเก่งเจ้าเล่ห์  ใช้สื่อด้วยกันเอง เป็นก๋วนเป็นเครื่องมือ  เป็นพวก 18 มงกุฎ มีอิทธิพลมากมายจ่ายเงินให้คอลัมน์นิสต์ นักเขียนการ์ตูนประกอบ หรือกุมการโฆษณาโดยใช้งบของรัฐ เมื่อตนเป็นรัฐบาล ตัวอย่างที่เป็นคลาสิค(ในด้านเลว) คือ  ชื่นชมยกย่องการเผาบ้านเผาเมือง การบุกโรงพยาบาลของบางพรรคฯ เรื่องเหล่านี้ ทำให้สื่อไม่สามารถทำหน้าที่และมีความรับผิดชอบ ตามจรรยาบรรณของสื่อได้ และสื่อ ก็ยอมรับว่า  “ องค์กรและสถาบันฯสื่อต่างๆ  ไม่สามารถควบคุมกันเองได้  “ และที่น่าแปลกใจ   คือ   “ การคัดค้านในเรื่องนี้   นายทุนเจ้าของสื่อ ซ่อนอยู่เบื้องหลัง  ให้สื่อออกมาโต้แทน “ แต่อีกด้านหนึ่ง  การมีองค์กรฯ  ที่มีข้าราชการ  ประชาชน และสื่อ  ฯ   ก็จะเสี่ยงกับ การเข้ามาแทรกแซงของรัฐ ซึ่งเป็นธรรมชาติของผู้มาบริหารบ้านเมือง ฯ  ที่ไม่ชอบการวิพากษ์วิจารณ์  และมองว่า “ ตนเองถูกเสมอ “ฉะนั้น สื่อ  หรือ หน่วยงานรัฐ  ( สปท. สนช .  ฯ  )  ต้องเสนอทางออกจากเขาควายนี้ให้ได้ ทางออก คือ  (1). ให้มีองค์กรภายในและภายนอก  มาทำหน้าที่ชั่วคราว  โดยต้องกำหนดหลักการที่ดีรองรับ (2).  สื่อต้องอาศัยช่วงนี้  ปฏิรูปองค์กรสื่อ  นักการสื่อสารมวลชน  คอลัมนิสต์  เจ้าของสื่อที่เป็นธุรกิจ ฯ ให้มีจรยาบรรณและความรับผิดชอบต่อส่วนรวมและบ้านเมือง เอาประชาชนมาก่อน ฯ 3.  เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง ยก "ไผ่ ดาวดิน" คือความเสื่อมถอยระบบนิติรัฐ อ้าง 2 มาตรฐาน ใคร 2 มาตรฐาน? นักวิชาการ ไผ่ ดาวดิน หรือ รัฐ ค้านใคร สนับสนุนใคร ทำไม  เรื่องนี้  มี  3 ส่วนที่จะต้องพิจารณา  คือเครือข่ายนักวิชาการฯ  จะมี  2  ส่วน  และส่วนที่สาม คือ  “ ไผ่ ดาวดิน “   หนึ่ง. ตัวแกนขับเคลื่อน ไม่ถึง 10 คน  จะเป็นคนเก่าหน้าเดิมซึ่งมีความคิดไม่เอารัฐบาลคสช.จากรัฐประหารและไม่คัดค้าน  สิ่งที่ไม่ถูกต้องชอบธรรมของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ทักษิณ  คือ มีความคิเอียงข้างฯ  ซึ่งในฐานะอาจารย์ และนักวิชาการ  จะต้องให้คำแนะนำลูกศิษย์ในการทำสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม และรู้ว่า“ สิ่งใด ควรทำ และไม่ควรทำ “ และไม่ควรใช้  “ นักศึกษา เป็นเครื่องมือตามความคิดของตน สอง. นักวิชาการอีกกว่า 300 คน  ที่ร่วมลงชื่อ  จะมีทั้งคนเก่าเจ้าเติมที่คัดค้านทหาร และเชียร์ทักษิณ กับ  เพื่อนฝูงในวงวิชาการฯ  ที่จะขอความร่วมมือ  โดยส่วนหนึ่งยังไม่ได้อ่านแถลงการณ์ก่อนลงชื่อ ซึ่งโดยหลักการที่ถูกต้อง  จะต้องรับรู้ก่อน  และแกนนำที่เอาชื่อไป ต้องทำในกรอบที่ตกลงกันฯ สาม. ตัว “ ไผ่ ดาวดิน “ ที่เป็นจำเลย ถูกคดี  ซึ่งเป็นนักเคลื่อนไหว ในฐานะของนักศึกษา   ซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม  แต่ต้องดูสภาพความเป็นจริง ว่า   “ เคลื่อนไหวในเรื่องอะไร  ถูกต้องชอบธรรมไหม “มีวัตถุประสงค์อะไร,  เหตุที่กล่าวเช่นนี้   เพราะ “ ไผ่ดาวดิน “  เป็นนักศึกษาที่เป็นสัญญาลักษณ์ของนักเคลื่อนไหว   ที่ถูกยกถูกนำมากล่าวอ้าง เพื่อแสวงหาความชอบธรรมจากสังคม  ฯ ซึ่งสิ่งที่ถูกต้อง  “ ทั้งนักวิชาการ และตัวไผ่ดาวดิน “  ต้องมีส่วนรับผิดชอบและรับรู้หลักการของการเคลื่อนไหวร่วมกัน   ว่า  “ สิ่งที่ทำและการสนับสนุนนั้น  เป็นสิ่งที่ถูกชอบธรรมจริงๆ 4. นักการเมือง วิจารณ์กล่าวหา “ รัฐบาล และรัฐธรรมนูญ ฉบับลงประชามติ “ เพื่อประชาชน หรือ ตัวเอง ที่ต้องพูดเช่นนี้   เพราะ สิ่งที่นักการเมืองทั่วไป นำเสนอออกมา  มักเน้นไปที่ตัวรัฐธรรมนูญ ในการจำกัดสิทธินักการเมืองและพรรคการเมือง   โดยไม่ได้พิจารณาตนเอง หรือมีความคิดที่จะปฏิรูปพรรคการเมืองและนักการเมืองให้ดีขึ้น  ให้ทำงานเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติมากกว่าตัวเองและพรรคของตน แต่ที่ต้องถูกวิจารณ์หนัก  ก็คือ  พรรคการเมืองที่เคยเป็นรัฐบาล  และสร้างปัญหาวิกฤตให้กับบ้านเมือง ทั้งการโกงงบประมาณจำนวนมหาศาล ภายใต้นโยบาย “ ประชานิยม “  และการใช้อำนาจเผด็จการเหนือรธน. แก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อสร้างอำนาจของนายทุนเจ้าของพรรคและพรรคของเขา รวมทั้งการสนับสนุนให้กลุ่มการเมืองมวลชนของตน  เผาบ้านเผาเมือง ใช้กองกำลังติดอาวุธ สังหารทหารและประชาชนที่ผ่านมาฯ พรรคการเมืองนี้  ก่อนอื่น จะต้องออกมารับสารภาพ ในความผิดมหันต์ที่ได้ทำไว้กับชาติบ้านเมือง ยอมรับผิด  แล้วสัญญาว่า   “ จะไม่ทำผิดเช่นนี้อีกต่อไป  “ อีกทั้งในการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลคสช. แทนที่จะนำเสนออย่างตรงไปตรงมา  หากถูกและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศ  ก็ต้องชื่มชม  ยกย่อง  แต่หากทำผิดพลาด  ก็ต้องเตือน และเสนอสิ่งทีถูกต้องฯ แต่ปรากฏว่า  แกนนำของพรรคการเมืองพรรคนี้ และเจ้าของพรรค ที่หนีคดีอยู่เมืองนอก   กลับออกมากล่าวหาทุกเรื่องทุกประเด็น  คือ  “ ไม่มีอะไรถูกต้องเลย “  โดยการบิดเบือนข้อมูลและกล่าวเท็จ ซึ่งประชาชนที่ติดตามและเห็นผลงานของรัฐบาล มีมากกว่า  70 -80 % ( ตามโพลจากทุกสำนัก ฯ ) ยิ่งทำให้ประชาชนได้เห็นและเป็นการย้ำถึง  “ ความไม่ชอบธรรมและการทำเพื่อตนเองและพรรคของตน “ หากต้องการ  ให้ประชาชนเชื่อถือ ไว้วางใจ และเชื่อมั่น   พรรคนี้จะต้องปฏิรูปใหญ่ ไม่เอาคนโกงมาร่วมพรรคฯ     5. รัฐบาลคสช.กระบวนการยุติธรรม จัดการกับ “คนดีคนกล้า “ ที่ออกมาสู้เพื่อรักษาบ้านเมืองยึดรธน. เท่าเทียมกับ “ คนสั่งล้มการประชุมอาเซียน + 6 ที่พัทยา เผาบ้านเผาเมือง บุกโรงพยาบาล ฯและให้สิทธิคนหนีคดี(ไปอยู่ดูไบ) “ ที่ศาลฎีกาตัดสินจำคุก ฟ้องร้องคนได้ไปทั่ว “  ตัวอย่างเหล่านี้ อ้างหลักการ อ้างประชาชนมาก่อน หรือจะคืนสุขให้คนไทย แล้วความจริงคืออะไร ความยุติธรรมอยู่ไหน จะมาสู่คนไทยได้จริงฤา หากไม่แยกแยะ “ คนดีทำเพื่อบ้านเมือง- คนชั่วทำเพื่อตนเอง “รัฐบาลคสช. ที่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชน 70- 80% นั้น  ส่วนหนึ่ง ก็มาจาก มวลมหาประชาชนที่ร่วมเคลื่อนไหวเพื่ประชาธิปไตย  คัดค้านอำนาจเผด็จการและความไม่ชอบธรรมของรัฐบาลทักษิณ นอมินีสมัคร -สมชาย-ยิ่งลักษณ์ ฯ ในนามของ พธม. และ กปปส. โดยพวกเขาเห็นว่า   “ รัฐบาลประยุทธ  ถึงแม้มาจากการรัฐประหาร  แต่ก็เพื่อแก้วิกฤตของบ้านเมือง ที่พลังของประชาชน ยังไม่เข้มแข็งพอ ที่จะโค่นล้มอำนาจเผด็จการฯ ด้วยตนเอง “  จึงชื่นชม ยกย่อง และให้การสนับสนุนสิ่งที่ ดงาม ที่รัฐบาลประยุทธ์ และแม่น้ำ 5 สาย ที่ได้ทำมาในช่วง 2-3 ปีมานี้แต่ในใจของผู้ที่รักชาติรักประชาธิปไตยรักความเป็นธรรม  ยังปรารถนาให้นายกประยุทธ์ฯ ได้คิดในสิ่งที่ถูกต้อง นั้นคือ   “ ยกย่องให้เกียรติ แก่ผู้นำและประชาชนที่ได้แสดงความกล้าหาญและเสียสละเพื่อบ้านเมือง “แทนที่จะปล่อยให้กระบวนการยุติธรรมไทย ที่ยังคงล้าหลัง ไม่เป็นธรรม  , มาเอาผิด ลงโทษอย่างหนักต่อคนดี ที่ทำเพื่อประชาชนและประเทศชาติ อย่างทุกวันนี้   กระบวนการยุติธรรม ต้องปฏิรูป  ต้องจับหลักให้ถูก ยึดกติกาสูงสุดของประเทศ คือ รัฐธรรมนูญ และการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ทุกองค์กรจะต้องปฏิบัติตาม  คือ “ การพิจารณาให้การต่อต้านรัฐบาลเผด็จการยิ่งลักษณ์ที่ทำผิดรัฐธรรมนูญ  เป็นสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม “  แต่กระบวนการยุติธรรม กลับไปเอาประเด็นรอง มาตัดสิน โดยอ้างว่า  “ แม้ยึดหลักรธน.  แต่การกระทำที่ไปปิดล้อมสถานที่ราชการผิด  จึงต้องผิด , ซึ่งเป็นเรื่องน่าเศร้า ! ทำให้นึกถึงบทกวีอันมีชื่อ “ คนดีถูกตีตรานักโทษ คนชั่วกลับอิ่มแปล้ นั่งยิ้มครองเมือง”