ชัยวัฒน์ สุรวิชัย • Attitude ทัศนคติ ความคิดเห็น, ทัศนะ, ความเห็น ทัศนคติ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี คือ ความชอบไม่ชอบต่อสิ่งหนึ่ง • “ ทัศนคติเปลี่ยน ชีวิตเปลี่ยนทั้งชีวิต” “คนเราเลือกเกิดไม่ได้ แต่เลือกที่จะเป็นอะไรได้” แต่การที่จะเลือกเป็นอะไรนั้น ถ้าไม่เปลี่ยนทัศนคติ บอกได้เลยว่า ไม่มีทางเป็นไปได้ เพราะทัศนคติเป็นเข็มทิศที่จะชี้นำว่าเราจะเดินไปในทิศทางไหน ประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว “ ทัศนคติ ” หมายถึงแนวความคิดเห็น มุมมอง ความรู้สึก ต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งอาจจะดี หรือไม่ดี อาจจะลบ หรือบวก ทั้งๆที่ความรู้สึก มุมมองความคิดเห็นนั้น อาจจะไม่ตรงกับความเป็นจริง เช่น ถ้าเรายืนอยู่กลางทุ่งนา ในยามเย็น เราจะมองเห็น พระอาทิตย์กำลังจะตกดิน นั่นคือ ความรู้สึก จากการมองเห็น แต่ใน ความเป็นจริง พระอาทิตย์ไม่ได้ตกลงไปในดิน ตามที่เรามองเห็น คนมองเรื่องเดียวกันอาจจะคิดเห็นเหมือนกันหรือแตกต่างกันก็ได้ ขึ้นอยู่กับแนวความคิดเห็นของแต่ละคนทัศนคติ มีผลต่อชีวิตคนเราอย่างมากมาย ทั้งนี้ ทัศนคติ เกิดจาก การอบรมเลี้ยงดู สภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ , การศึกษา และประสบการณ์ที่ผ่านมา การมี ทัศนคติที่ดี ที่ถูกต้อง เป็นเรื่องสำคัญในการดำเนินชีวิต ชีวิตที่มีความสุข สดชื่น สมหวัง ล้วนแล้วแต่เกิดมาจากการปลูกฟัง ทัศนคติที่ดี ทั้งสิ้น รวมถึงในการทำงาน ก็ต้องมี ทัศนคติในการทำงาน ( อ.กร การันตี ) • โมเดลโครงสร้างทัศนคติ (Structural model of attitudes) (Schiffman; & Kanuk. 2007) เพื่อการทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่าง ทัศนคติและพฤติกรรม ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ 1. ส่วนของความเข้าใจ (Cognitive component) แสดงถึง ความรู้ Knowledge การรับรู้Perception ความเชื่อถือ Beliefs ความรู้นี้และผลกระทบต่อการรับรู้จะกำหนดความเชื่อถือ (Beliefs) 2. ส่วนของความรู้สึก (Affective component) ประกอบทัศนคติ 3 ประการซึ่งสะท้อนถึงอารมณ์ (Emotion) หรือความรู้สึก (Feeling) ของผู้บริโภคที่มีต่อความคิดหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง 3. ส่วนของพฤติกรรม (Conative component หรือ Behavior หรือ Doing) ซึ่งสะท้อนถึงความน่าจะเป็นหรือแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมของผู้บริโภค • ธรรมะ ที่ช่วยให้มีทัศนคติที่ดีถูกต้อง ที่ช่วยให้งานสำเร็จตรงตามเป้าหมาย 1 ) ก่อให้เกิดประโยชน์ที่ถูกต้องดีงาม 2 ) ก่อให้เกิดความสำเร็จ 3 ) ก่อให้เกิดความสุข หลักอริยสัจ 4 : ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค : รู้ว่าอะไรเป็นปัญหา จากนั้นก็หาเหตุ แล้วกำหนดเป้าหมายให้แน่ชัด จากนั้นก็หาวิธีทำให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว มีหลักอิทธิบาท 4 : ธรรมะที่นำไปสู่ความสำเร็จโดยตรง ความมีใจรักในงานที่ทำ (หรือฉันทะ) ความเพียร(หรือวิริยะ) ความจดจ่อใส่ใจ (หรือจิตตะ) การหมั่นไตร่ตรอง (วิมังสา) • ทัศนคติที่ควรมีเพื่อที่จะมีชีวิตที่ดี 1. มองโลกจากความเป็นจริง 2. ไม่มีอะไรที่เราทำไม่ได้ หากเราเอาจริง และมีเงื่อนไข รวมทั้งเวลา ที่เหมาะสม 3. ไม่มีอะไรในโลกนี้ที่สมบูรณ์ แต่เราสามารถทำสิ่งที่ดดีกว่าที่เป็นอยู่ได้ 4. คนเราต้องพบกับความผิดหวัง แต่ควรแปรความผิดหวังเป็นพลังแห่งการเรียนรู้ และก้าวต่อไป 5. ความล้มเหลว เป็นมารดาแห่งความสำเร็จ 6. ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั้น 7. ความสำเร็จและการเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่เพียงแต่รู้ แต่ต้องลงมือทำ 8. การเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุด ไม่เกี่ยวกับความแก่ ความมีความจน 9. เราควรจะมีการสรุปและทบทวนตัวเองเสมอ จะได้รู้อะไรผิด อะไรที่ถูก เพื่อจะทำให้ดีขึ้น • ทัศนคติ ( เรียบเรียง จาก damrong pinkoon ) เรามั่นใจหรือไม่ว่า สิ่งที่เราคิดและทำ ถูกต้อง เรามีทัศนคติเชิงบวก หรือ ลบ หากเราไม่รู้ว่า ทัศนคติของเราเป็นอย่างไร เราจะทำอย่างไร เราจะสร้างทัศนคติที่ถูกต้องได้อย่างไร ความคิด การกระทำ ความคิดที่ผิด การกระทำที่ถูก ความคิดที่ผิด การกระทำที่ผิด ความคิดที่ถูก การกระทำที่ผิด ความคิดที่ถูก การกระทำที่ถูก ความคิดที่ผิดและการกระทำที่ผิด มีผลกระทบกับเราอย่างไร ความคิดที่ถูกและการกระทำที่ถูก มีผลกระทบกับเราอย่างไร • ถ้าเราคิดว่า “ เงิน เป็นสิ่งที่หายาก “ หมายความว่า เราไม่ได้คิดอย่างจริงจังเกี่ยวกับการหาเงิน มันก็เหมือนกับ เราขอให้เชฟ ( พ่อครัว ) ซ่อมรถ , สิ่งที่เชฟจะพูด คือ “ มันยากมาก “ เช่นเดียวกัน หากเราขอให้ช่าง ทำอาหารปลาให้ , เขาก็จะพูดว่า “ มันยากมาก “ เราลองจินตนาการว่า “ เขาเดินทางผิด และไม่สามารถหาทางออกได้ , มันเป็น กับดัก ทางความคิด “ เราสามารถเปรียบเทียบ สถานการณ์ ที่ซึ่ง ใครบางคน ถูกทำให้เข้าไปเกี่ยวข้อง มันจะเป็นไปไม่ได้เลย ที่จะเปลี่ยนวิธีคิดของเขา และออกมาจากกับดักได้ • เงินไม่สามารถเปลี่ยนทุกสิ่งได้ แต่ความคิดที่ถูกต้อง สามารถเปลี่ยนแปลงได้ทุกสิ่ง • สิ่งที่สำคัญที่สุด ที่เราจะให้กับเยาวชน หนึ่ง การศึกษา สอง ความคิดที่ถูกต้อง เราสามารถให้อนาคตที่ดีแก่เยาวชนได้ คือ การให้ความคิดที่ถูกต้อง 1. การศึกษาที่ดี เพราะ การศึกษา จะใหความรู้ ความสำนึก ความฉลาด ความสำนึกที่จะรู้ อะไรที่ควรทำ และ อะไรไม่ควรทำ และ อะไร ที่ทำความเสียหายและรบกวน แก่ผู้อื่น เราสามารถ เปลี่ยนอนาคตของเยาวชน 2. การสอนให้มีหลักคิดที่ถูกต้อง เพราะ เมื่อเขาเติบโตขึ้น จะมีประสบการณ์หลายอย่างในการดำรงชีวิต และเขาต้องการการตัดสินด้วยตัวเอง ว่า “ อะไรถูก อะไรผิด “ • ทัศนคติ ที่ดี ทำให้เป็นเรื่องง่าย สำหรับทุกคน ที่จะมีความสุขอย่างแท้จริง ถ้าชีวิตของเรา ไม่ตัดสินใจด้วยตัวเอง แล้วจะให้ชีวิตของเราขึ้นต่อใคร ? • ความคิดที่ผิด vs ความคิดที่ถูก หยุดล้มเลิก - เปลี่ยนทางใหม่ , กล่าวหาคนอื่น ตั้งคำถามกับตัวเอง , อ้างสถานการณ์ – เปลี่ยนยุทธศาสตร์ วิธีคิดที่ผิด - คิดบวก , ขี้เกียจ - ขยัน , ยอมแพ้ - สู้ต่อ , เป็นหนี้ - มีทรัพย์สิน , งมงาย - มีเหตุมีผล , สับสน ยุ่งเหยิง - จัดแยกเป็นกลุ่ม , ไม่เข้าใจ - เข้าใจ , รู้ทุกอย่าง – รู้เฉพาะอย่าง , อ่อนแอ – เข้มแข็ง , เสี่ยง บ้าระห่ำ - กล้าหาญ , เอาแต่แก้ตัว – ปรับปรุงตัว , หมดหวัง - กระตุ้นสู้ใหม่ , ล้มเหลว - สำเร็จ . •ง่ายที่จะตกอยู่ในกรอบคิดที่ผิด เหมือนกับการนั่งเก้าอี้ผิดที่ เราต้องเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ เหมือนกับ เปลี่ยนเก้าอี้ คนที่ประสบความสำเร็จ จะเริ่มต้นโครงการด้วยความคิดที่ถูกเสมอ ,แน่นอน มันไม่ใช่ความเลวที่มีกรอบคิดที่ผิด , มันเพียงทำให้เราบรรลุเป้าหมายยากขึ้น . คนที่มีกรอบคิดที่ผิด ง่ายที่จะหยุดหรือเลิก เมื่อเผชิญกับปัญหา , ในทางตรงกันข้าม คนที่มีกรอบคิดที่ถูก จะเปลี่ยนทิศทาง ในทุกครั้งที่เผชิญกับปัญหา เพียงแต่จะไม่หยุด จนกว่าจะถึงเป้าหมาย . คนที่มีกรอบคิดที่ผิด มักจะอ้างสถานการณ์ต่างๆ สำหรับการทำงานที่ไม่สำเร็จ . • ความคิดที่ถูก และการกระทำที่ถูก เราต้องการ 2 ลักษณะที่สำคัญ คือ ความคิดที่ถูกต้อง และการกระทำที่ถูกต้อง ถ้าเราต้องการให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี เราจะต้องทำงานหนัก ถ้าเราต้องการที่จะดีกว่าคู่แข่ง เราจะต้องทำงานหนักกว่าคู่แข็ง ถ้าเราให้สิ่งที่ดีที่สุดแก่คนอื่น เราก็จะได้รับสิ่งที่เป็นบวกกลับมา ทัศนะคติที่ต่างกัน จะทำให้เราเห็นเหตุการณ์ที่ต่างกัน ถึงแม้ว่า เราจะมองในสิ่งเดียวกัน ถ้าเราต้องการเปลี่ยนบางอย่างในชีวิตเรา อย่างแรกที่เราจะต้องเริ่มเปลี่ยน คือ “ ความคิด “ • จากการเริ่มต้นที่เหมือนกัน คนจะเลือกทางเดินของตนเอง บางคนเลี้ยวซ้าย บางคนเลี้ยวขวา บางคนเลือกตรงกลาง บางคนเลือกไปข้างหน้า บางคนถอยหลัง เขาทั้งหมด จะเดินตามกรอบคิดหรือทัศฯคติของตน ไม่มีใครที่จะตัดสินคนอื่น ไม่ว่าจะทำสิ่งผิดหรือถูก เพียงแต่หลังจากนั้น เราจะรักอะไรที่เราทำหรือไม่ • สิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตของเรา คือ วิธีคิด และการใช้สมอง อย่างไร คนจำนวนมาก มีกรอบความคิดที่ผิด ดังนั้นจึงมีชีวิตที่ผิด มักมีความสับสนเสมอ ความคิด การกระทำ ความคิดที่ผิด การกระทำที่ถูก ความคิดที่ผิด การกระทำที่ผิด ความคิดที่ถูก การกระทำที่ผิด ความคิดที่ถูก การกระทำที่ถูก ความคิดที่ดีและความคิดเชิงบวก จะทำใหสมองสดชื่น และชัดเจน และทำให้เราสมประสงค์ ชีวิตปู่จิ๊บที่มีอายุอีก 2 ปี จะครบ 70 ได้ผ่านมาทั้งถูกหรือผิด แต่เริ่มทำถูกทิศทาง เมื่อมีทัศนคติที่ถูกต้อง จึงปรารถนาให้ เยาวชนที่จะตามมาแบกรับอนาคตของชาติ ได้มีทัศนคติที่ถูกก่อนเดินทาง จะทำให้ไม่เสียเวลา เพราะบ้านเมืองเรา เสียเวลาลองผิด ลองถูกมามากแล้ว และที่น่าเสียดาย ที่ตกอยู่ในวัฏจักรความผิดมาตลอด แล้วบ้านเมือง เราจะผ่านวิกฤต ได้อย่างไร หากเรายังไม่เริ่มเปลี่ยนแปลงที่ “ ความคิดของเรา” ก่อน