สำนักงานสหกรณ์จังหวัดยโสธร โดยกลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ จัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการการเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยมีนายอำเภอป่าติ้ว (นายธนาคม กองเพียร) เป็นประธานเปิดการประชุมฯ และได้ร่วมมอบปัจจัยการผลิตพร้อมป้ายเกษตรทฤษฎีใหม่ให้แก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครง จำนวน 100 ราย ซึ่งมีนายพนัส พันธุ์วรรณ สหกรณ์จังหวัดยโสธร ร่วมบรรยายพิเศษ “แนวทางการพัฒนาเกษตรทฤษฎีใหม่ด้วยวิธีการสหกรณ์” โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมฯ ประกอบด้วยเกษตรกร สมาชิกสหกรณ์ที่เข้ารวมโครงการ คณะกรรมการดำเนินการและเจ้าหน้าที่สหกรณ์การเกษตรป่าติ้ว จำกัด เจ้าหน้าที่สำนักงานสหกรณ์จังหวัดยโสธร รวมทั้งสิ้น 150 คน ณ ห้องประชุมสหกรณ์การเกษตรป่าติ้ว จำกัด นายพนัส พันธุ์วรรณ สหกรณ์จังหวัดยโสธร นายพนัส พันธุ์วรรณ สหกรณ์จังหวัดยโสธร กล่าวว่า จังหวัดยโสธร มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ จำนวน 661 ราย โดยได้มีการแบ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จังหวัดยโสธร ทุกอำเภอ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดยโสธรรับผิดชอบเกษตรกรพื้นที่อำเภอป่าติ้ว จำนวน 100 ราย และเพื่อให้การขับเคลื่อนการปฏิบัติงาน “5 ประสาน สืบสานเกษตรทฤษฎีใหม่ ถวายในหลวง” ให้ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการได้รับประโยชน์สูงสุด และสอดคล้องกับนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยส่งเสริมให้เกษตรกรที่มีความสมัครใจได้น้อมนำหลักทฤษฎีใหม่ ไปปรับใช้ในพื้นที่ของตนเองอย่างเหมาะสม ให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ของเกษตรกรตามภูมิสังคมของแต่ละพื้นที่ โดยมุ่งหวังจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ อันเกิดจากการพัฒนาศักยภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน โดยการสร้างอาชีพอย่างเหมาะสมกับทรัพยากรและปัจจัยการผลิต ที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า กรมส่งเสริมสหกรณ์ โดยสำนักงานสหกรณ์จังหวัดยโสธร จึงได้จัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการการเกษตรทฤษฎีใหม่ ตามวัตถุประสงค์ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สหกรณ์จังหวัดยโสธร กล่าวอีกว่า การดำเนินการจัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการการเกษตรทฤษฎีใหม่ครั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ปฏิบัติงาน “5 ประสาน สืบสานเกษตรทฤษฎีใหม่ ถวายในหลวง” และเพื่อถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ที่ทรงมีต่อปวงชนชาวไทยและ เพื่อให้เกษตรกรทราบแนวทางในการดำเนินโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ สนับสนุนให้เกษตรกรได้นำแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่มาปรับใช้ในการดำเนินกิจกรรมทางการเกษตรในพื้นที่ของตนเอง ตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับพื้นที่ของเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรสามารถลดรายจ่าย พัฒนาคุณภาพชีวิต และพึ่งพาตนเองและส่งเสริมการร่วมกลุ่มด้วยวิธีการสหกรณ์ สร้างความมั่นคง มั่นคั่ง และยั่งยืน ต่อไป