“มูลนิธิปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริ” ได้จัดกิจกรรมสืบสานแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อวันที่ 10 ถึง 11 มิถุนายนที่ผ่านมา นับว่าเป็นโครงการดีๆที่ได้เผยแพร่ความสำเร็จจากโครงการในพระราชดำริ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อพสกนิกร ของพระองค์ ผ่านโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริดังกล่าว ครั้งนี้ได้มีโอกาสเดินทางไกลเพื่อไปเยี่ยมชมโครงการในพระราชดำริด้วยกันหลายโครงการ ในวันแรกมูลนิธิปิดทองหลังพระฯ ได้พาไปเยี่ยมชม “หมู่บ้านหุบกะพงตามพระราชประสงค์” พร้อมทั้งได้พบปะพูดคุยกับชาวบ้าน สำหรับหมู่บ้านหุบกระพงฯ นั้นเกิดขึ้นสืบเนื่องจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับ ณ พระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบศีรีขันธ์เมื่อปี พ.ศ.2507 และได้เสด็จฯไปทรงเยี่ยมเยียนราษฎรจังหวัดใกล้เคียง พระองค์ได้ทรงทราบถึงความเดือดร้อนของเกษตรกร กลุ่มชาวสวนผักชะอำ จำนวน 83 ครอบครัว ขาดแคลนทุนทรัพย์ที่จะนำไปประกอบอาชีพ พระองค์จึงทรงรับเกษตรกรเหล่านี้ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมทั้งพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ให้กู้ยืมไปลงทุนเป็นจำนวนเงิน 3 แสนบาท ภายหลังไม่ปรากฏมีผู้ใดนำเงินจำนวนที่กู้ยืมไปถวายคืนเลย จนความทราบถึงฝ่าละอองธุลีพระบาทว่า เกษตรกรเหล่านี้ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเองได้อาศัยเช่าที่กรมประชาสงเคราะห์ โดยเฉลี่ยครอบครับละไม่เกิน 2 ไร่ ซึ่งไม่เพียงพอต่อการประกอบอาชีพจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ องคมนตรี ขณะนั้นดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้จัดหาที่ดินในเขตจังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นำมาจัดสรรให้แก่เกษตรกรดังกล่าว ต่อมาทางรัฐบาลอิสราเอล โดย เอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทย ขอทราบหลักการของโครงการและอาสาช่วยเหลือในการพัฒนาการเกษตรในรูปของผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ ทำสัญญาร่วมกันระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลอิสราเอล มีกำหนดระยะเวลา 5 ปี เริ่มวันที่ 19 สิงหาคม 2509 ถึง 10 สิงหาคม 2514 ใช้ชื่อว่าโครงการไทย-อิสราเอล เพื่อพัฒนาชุมชน (หุบกะพง) โดยเลือกที่ดินบริเวณหุบกะพง อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เป็นที่ตั้งของศูนย์สาธิตและทดลองการเกษตรของโครงการพื้นที่ของโครงการตามพระราชประสงค์หุบกะพง แม้ว่าเกษตรกรจะไม่ได้รับกรรมสิทธืในที่ดินแต่สามารถอยู่อาศัยและประกอบอาชีพได้ โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์จะออกหนังสืออนุญาตให้กับเกษตรกรผู้ครอบครองที่ดินโดยถูกต้องเพื่อเป็นการตอบแทนสมาชิกสหกรณ์ที่ได้รับพระราชทานที่ดิน ปัจจุบันชาวบ้านได้มีหลายกลุ่ม อาทิกลุ่มสตรีผลิตภัณฑ์ของใช้ในครัวเรือนที่รวมตัวกันเมื่อวันที่1พฤศจิกายน2557มีสมาชิกเริ่มแรก30คนสาเหตุที่มีการจัดตั้งกลุ่มเนื่องจากสมาชิกในกลุ่มมีเวลาว่าง หลังจากเลิกงานจากอาชีพหลัก จึงได้รวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มสตรีผลิตภัณฑ์ของใช้ในครัวเรือนขึ้นเพื่อเป็นอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ โดยได้รับคำแนะนำจากสหกรณ์การเกษตรหุบกะพง จำกัด ได้เป็นกลุ่มอาชีพในสังกัดสหกรณ์การเกษตรหุกะพงจำกัด “ปิ่นรัตน์ ตันหยง” อายุ 58 ปี หนึ่งในสมาชิกกลุ่มสตรีกล่าวว่าผลิตภัณฑ์ใช้ในครัวเรือนนั้นเป็นสินค้าสมุนไพรใช้ในบ้าน เป็นสมุนไพรที่ปลูกขึ้นเองในบ้านของสมาชิกกลุ่มสตรี นำมาทำผลิตภัณฑ์ เช่นยาสระผม โลชั่นบำรุงผิว สบู่สมุนไพร น้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้า สปาอาบน้ำ สินค้าเหล่านี้กลุ่มสตรีนำมาสกัดเองโดยใช้สูตรของชาวบ้าน มีภัณฑ์บางส่วนเช่นสปาขัดผิวสูตรนมขมิ้น มีโรงแรมมารับสินค้าไปเพื่อจัดทำสปาให้นักท่องเที่ยวอีกด้วย ขณะที่สินค้าบางรายการได้จัดส่งขึ้นห้างสรรพสินค้าสร้างรายได้ต่อปีตกปีละ3ล้านบาท เฉลี่ยเป็นเดือนๆละกว่า1แสนบาท มีนักท่องเที่ยวและห้างสรรพสินค้าบางแห่งมารับไปจำหน่ายต่อจำนวนมากขายในราคาที่ถูกไม่แพงเพราะเป็นสินค้าทำเองกลุ่มสตรีที่ว่างงาน จึงมีรายได้เสริม ส่วนอีกกลุ่ม คือหมู่บ้านออแกนิคปลูกผักไฮโดร โดย “สนั่นศักดิ์ บุญพิทักษ์” อายุ 53 ปี ในฐานะประธานกลุ่มผักไฮโดรผักออแกนิค บอกว่าในตอนแรกหมู่บ้านแห่งนี้ไม่มีน้ำ แห้งแล้งมากปลูกผักลงดินประสบปัณหาภัยแล้งมีคนช่วยพาไปดูวิธีการทำออแกนิคพืชใช้น้ำน้อย ไปดูตามหน่วยงานราชการที่ส่งเสริมก็เลยลองหัดทำดู สำหรับผักที่ทดลองปลูกแล้วประสบความสำเร็จคือ ผักกาด ผักชีล้อม ตอนนี้ทำอยู่ชนิดเดียวคือ ประเภทผัก กำลังทดลองเมล่อนเพราะเป็นพืชที่ใช้น้ำน้อยเหมือนกันแต่ก็ทำยากทดลองดูนิดหน่อยที่ทดลองเพราะใช้น้ำน้อย “ลองปลูกทั้งหมด11โต๊ะลงทุนไป80,000บาท ถ้าผลผลิตเสียหายอุปกรณ์ก็ยังอยู่ยังทำต่อได้เลยยอมลงทุนค่าอุปกรณ์ในราคาสู่งร่วมหุ้นกันทั้งหมด7-8คนคนละ5,000บาทตอนนี้ยังไม่ได้ทุนคืนข้อดีของผักไฮโดรหรือผักออแกนิคคือเป็นผักที่ไม่มีสารเคมีปลูกโดยแบบธรรมชาติโดยตรงและข้อเสียของผักออแกนิคคือเราต้องควบคุมอุปกรเยอะคอยดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อไม่ให้ผลผลิตเสียหาย สำหรับที่ดินที่ปลูกผักออแกนิคนั้น พ่อแม่ ของเขาได้ทำมาเป็นรุ่นแรก ส่วนพวกผมเป็นรุ่นที่ 2 เมื่อตอนเด็ก เคยไปรอเข้าเฝ้าฯกับพ่อแม่ และประชาชนที่มาเฝ้ารอชมพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในทุกวันที่ 5 ธันวาคม” สนั่นศักดิ์ บอกอีกว่า สวนผักเรานั้นก็เห็นมาตั้งแต่เด็กๆ ที่ดินที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้ พระองค์ก็บอกว่า อย่าไปขายให้ไว้ชั่วลูกชั่วหลาน เราก็สืบทอดต่อไปพระองค์ท่านให้ที่อยู่ที่กินที่อาศัยอยู่อย่างสบาย แม้ว่าอาจจะมีปัญหาเรื่องแล้งบ้าง กล่าวได้ว่า โครงการตามพระราชประสงค์หุบกะพง นั้นได้ช่วยพลิกผืนดินที่แห้งแล้งสร้างที่ทำกินให้ราษฎร เป็นไปตามพระราชประสงค์ที่จะทรงจัดสรรที่ดินให้กับเกษตรกรที่ยากจนและไม่มีที่ทำกินเป็นของตนเองได้เข้ามาอาศัยและทำประโยนช์โดยได้จัดรูปแบบของหมู่บ้านสหกรณ์แห่งแรกของประเทศไทยตั้งแต่ปี 2509เพื่อให้เกษตรกรทุกครอบครัวได้ใช้ประโยนช์ในที่ดินสำหรับการประกอบอาชีพ มีงานทำ มีรายได้ทางการเกษตรและพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีอยู่อาศัยอย่างมีความสุขอย่างยั่งยืนด้วยวิถีแห่งความพออยู่พอกินตราบชั่วลูกชั่วหลานสืบไป @ โครงการพัฒนาชนบทแห่งแรก จากนั้นในวันที่ 2 ของการเยี่ยมชมโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทางมูลนิธิปิดทองหลังพระได้พาไปพบกับบุคคลสำคัญ อย่าง “ลุงสมโพด ดวงแก้ว” อายุ 95 ปี ผู้ที่ได้มีโอกาสรับใช้ใกล้ชิดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเป็นผู้ที่เคยเข็นรถพระที่นั่งส่วนพระองค์ เพียงคนเดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ ในปัจจุบัน เนื่องจากในสมัยก่อนถนนห้วยคต เคยเป็นป่าดงดิบมาก่อน ทำให้การเดินทางสัญจรของชาวบ้านเต็มไปด้วยความยากลำบาก แต่แล้วด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันเกิดจากน้ำพระราชหฤทัยห่วงใยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำให้ต่อมา จึงเกิดถนนพระราชทานบ้านห้วยคตสู่อำเภอหัวหิน รวมระยะทางยาวประมาณ 20 กิโลเมตร นับเป็นโครงการพระราชดำริเพื่อพัฒนาชนบทโครงการแรก ย้อนกลับไปเมื่อ 64 ปี ก่อนหลายหมู่บ้านในอำเภอหัวหิน ยังเป็นพื้นที่ทุรกันดาร การสัญจรไปมาเป็นไปด้วยความยากลำบาก บ้านห้วยคตในเวลานั้นยังไม่มีถนนออกจากหมู่บ้าน ทั้งๆที่อยู่ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 20 กิโลเมตรเท่านั่นการนำพืชผลทางการเกษตรไปขายที่ตลาดหัวหิน ถึงแม้ระยะทางจะไม่ไกลมาก แต่การเดินทางก็ทุลักทุเลเต็มทีชาวบ้านต้องบรรทุกพืชผลเช่น ข้าวโพด ผัก ผลไม้ใส่รถเข็นเหมารถจื๊ป ในราคาเที่ยวละ 500 บาทไม่คุ้มกับราคาพืชผลที่ขายได้ สมโพด ดวงแก้ว อายุ 95 ปี กล่าวว่าเหลือเพียงคนสุดท้ายที่เข็นรถพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตอนรถยนต์พระที่นั่งตกหล่ม ซึ่งในตอนนั้นก็ รู้ว่ารถคันนั้นเป็นรถของพระองค์ท่าน เพราะมาติดหล่มอยู่หน้าบ้านพอดี จึงไปช่วยเข็น มีชาวบ้านไปช่วยอีกหลายคน โดยได้ใช้จอบเสียมไปช่วย รถที่ตกหล่มเนื่องจากเส้นทางในสมัยนั่นไม่มีรถยนต์ที่จะสามารถเข้ามาในพื้นที่เลยนอกจากรถของในหลวง เพราะเป็นพื้นที่ป่าดงดิบทั้งหมด ลุงสมโพด เล่าต่อว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสถาม “ลุงรวย งามขำ” ชาวบ้านที่มา ช่วยยกรถพระที่นั่งที่ตกหลุมว่า “หมู่บ้านนี้ มีปัญหาอะไรบ้าง” ลุงรวย กราบบังคมทูลว่าปัญหาใหญ่ที่สุดคือไม่มีถนนสัญจร จากนั้นไม่นานต่อมาชาวบ้านห้วยคตก็ได้เห็นตำรวจค่ายนเรศวร นำรถบูลโดเซอร์มาเกลี่ยผิวถนน และเพียงหนึ่งเดือนเท่านั่น ชาวบ้านก็ได้ถนนพระราชทาน ที่ช่วยร่นระยะเวลา สามารถเดินทางมาถึงตลาดหัวหินได้ภายใน 20นาที “ในสมัยนั้นไม่มีรถยนต์ การเดินทางลำบากมาก ในปี 2495 ผม ทำอาชีพปลูกข้าวโพดทำไร่ ปลูกข้าวกินเองเอาไปขายที่หัวหินเดินทางลำบากต้องขี่จักรยานไปครึ่งวันทางลำบากมาก ตอนเข็นรถให้ในหลวงเสร็จก็ทำทางต่อจริงๆแล้วรถยนต์ของในหลวงไม่ได้ติดหล่มแค่หน้าบ้านลุงคนเดียว แต่ติดมาตลอดทางเลย แต่ในหลวงทรงทำทางต่อไปจนถึงจุดสุดทางจนมาถึงหน้าบ้านลุงก็เลยได้เข็นรถในหลวงมาด้วย ตอนนั้นลุงอายุ 30 ปีที่เจอในหลวงตอนสมัยนั้นมีคนอยู่ในพื้นที่น้อยไม่ค่อยมีคนอยู่ ส่วนใหญ่ทำไร่ปลูกข้าวกินเองถ้าเหลือก็นำไปขายที่หัวหินโดยใช้จักรยานพอมีถนนแล้วทำให้สะดวกมากขึ้น ก็รู้สึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณอย่างมากรู้สึกดีใจมากการทำมาหากินดีขึ้นสะดวกขึ้น”ลุงสมโพดกล่าวทิ้งท้าย