ปิดสมัยประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 41 เมืองคราคูฟ ประเทศโปแลนด์ กันไปเรียบร้อย 2 – 12 ก.ค. 2017 พร้อมกับประกาศรายชื่อมรดกโลก 21 แห่ง มรดกโลก (World Heritage List) 2017 ทั้ง 21 แห่ง เป็นทางวัฒนธรรม 18 แห่ง ทางธรรมชาติ 3 แห่ง กระจายกันไปทั้งในยุโรป เอเซีย อเมริกาใต้ และแอฟริกาใต้ ในส่วนของเอเซียมี จีน ทางวัฒนธรรม 1 แห่ง ได้แก่ Kulangsu: a Historic International Settlement ทางธรรมชาติ 1 แห่ง ได้แก่ Qinghai Hoh Xil ญี่ปุ่น ทางวัฒนธรรม 1 แห่ง ได้แก่ Sacred Island of Okinoshima and Associated Sites in the Munakata Region อินเดีย ทางวัฒนธรรม 1 แห่ง ได้แก่ Historic City of Ahmadabad อิหร่าน ทางวัฒนธรรม 1 แห่ง ได้แก่ Historic City of Yazd และประเทศในกลุ่มอาเซียน กัมพูชา ทางวัฒนธรรม 1 แห่ง ได้แก่ Temple Zone of Sambor Prei Kuk, Archaeological Site of Ancient Ishanapura หรือ “สมโบรไพรกุก” กลุ่มศาสนสถานอาณาจักรอิศานปุระ หรือที่รู้จักในชื่ออาณาจักรเจนละ อาณาจักรโบราณที่รุ่งเรืองในพุทธศตวรรษที่ 11 ตั้งอยู่ในจังหวัดกำปงธม นับเป็นมรดกโลกแห่งที่ 3 ของกัมพูชา หลังจากนครวัดได้ขึ้นทะเบียนในปี 1992 และปราสาทพระวิหาร ขึ้นทะเบียนในปี 2008 นับแต่ยูเนสโกได้มีการขึ้นทะเบียนมรดกโลกจนมาถึงปี 2017 มีจำนวน 1,073 แห่ง เป็นทางวัฒนธรรม 832 แห่ง ทางธรรมชาติ 206 แห่ง แบบผสม 35 แห่ง ในจำนวนนี้มีมรดกโลกอยู่ในภาวะอันตราย 54 แห่ง ประเทศที่มีมรดกโลกมากที่สุด ได้แก่ อิตาลี 53 แห่ง รองลงมา จีน 52 แห่ง ตามด้วย ฝรั่งเศส 43 แห่ง และเยอรมนี 42 แห่ง จากประเทศภาคีสมาชิก 167 แห่ง สำหรับแหล่งมรดกที่ได้การรับรองเข้าสู่บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative Lists) ปี 2017 มีจำนวน 82 แห่ง ในจำนวนนี้มีประเทศกลุ่มอาเซียน พระธาตุพนม ไทย Halong Bay-Cat Ba เวียดนาม Royal Belum State Park, Gombak Selangor Quartz Ridge, FRIM Sellangor Forest Park มาเลเซีย และ Hin Nam No National Protected Area สปป.ลาว เป็นต้น เมื่อรวมรายชื่อที่อยู่ในบัญชีดังกล่าวมีจำนวน 1710 แห่ง จากประเทศภาคีสมาชิก 176 แห่ง ทั้งหมดนี้สามารถดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์มรดกโลกของยูเนสโก (whc.unesco.org/en/news/1694) พร้อมภาพประกอบ