ใครที่เคยไปเยือนพื้นที่จังหวัดน่านหรือเปิดแผนที่ดูภูมิประเทศจะพอรู้ว่าพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง ยอดดอยพื้นที่สูง แทบทุกอำเภอภูมิประเทศเป็นอย่างนั้น แล้วภูเขาหรือดอยเหล่านั้นมักมีสภาพโล่งเตียนที่ชาวบ้านเขาเรียกกันชินปากว่าเขาหัวโล้น มองหาต้นไม้ขนาดใหญ่แทบไม่มี ส่วนใหญ่ชาวบ้านปลูกข้าวโพดกัน แตกต่างจาก อีสานที่เรียกว่าที่ราบสูง เวลานั่งรถยนต์ออกจากตัวจังหวัดน่านไปอำเภอต่างๆ มักต้องวิ่งไปบนเส้นทางไต่เขา ถ้ายิ่งเป็นพื้นที่ลึกเข้าไปก็จะไต่เขาสูงไปเรื่อยๆ เข้าไปชุมชนที่เป็นชนเผ่าไม่ใช่แค่ไต่เขาสูงธรรมดาแต่มักต้องผจญกับเส้นทางที่ชาวบ้านใช้สัญจรตามอัตภาพไม่ต่างไปจากทางเกวียนไม่น่าเรียกถนนแล้วเป็นทางเกวียนที่เลาะตีนเขาขึ้นไปคดโค้งวกวนไปตลอด ระยะทางไม่กี่กิโลเมตรใช้เวลาเป็นชั่วโมงสองชั่วโมง ตามองคมนตรีพลากร สุวรรณรัฐที่นำผู้บริหารจากสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ(สำนักงานกปร.) ผู้บริหารจากสำนักพระราชวัง จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เที่ยวนี้ไปนับหนึ่งที่จังหวัดเชียงราย ต่อไปจังหวัดพะเยาแล้วก็มาจุดสุดท้ายที่จังหวัดน่านนี่แหละ ไปที่โครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถโครงการพัฒนาพื้นที่บ้านกอก-บ้านจูนฯ ทุกจุดต้องนั่งรถยนต์ไต่เขาลึกเข้าไปในหุบห้วย เป็นพื้นที่ป่าที่หมดสภาพป่าไปค่อนข้างเยอะด้วยการบุกลุกถากถางของชาวบ้านที่อยู่รอบๆพื้นที่เพื่อใช้เป็นที่ทำกิน แล้วก็เพราะพวกที่ตักตวงประโยชน์จากไม้ในทางพาณิชย์ รถยนต์ที่ใช้เดินทางเข้าไปต้องเป็นรถระบบโฟร์วิลด้วยไม่เช่นนั้นไปไม่ถึง พื้นที่ ไปไม่ถึงชาวบ้าน เพราะพื้นที่โครงการตามพระราชดำริดังกล่าวอยู่ในเขาสูงป่าลึกที่ประชาชนผู้อยู่อาศัยอยู่กันด้วยความยากจน ท่ามกลางทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกบุกลุกทำลายไปมากต่อมากอย่างที่เกริ่น ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกล ด้วยพระเมตตาพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้อันเกิดจากพระราชหฤทัยห่วงใยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถและพระบรมวงศ์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังพื้นที่เหล่านี้มาก่อนแล้ว ด้วยเพราะทรงรู้ว่าราษฎรของพระองค์เดือดร้อนอันเกิดจากความอดอยากยากแค้น ทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นทรัพย์ในดินสินในน้ำของประเทศชาติ และเป็นแหล่งที่จะสร้างคุณภาพชีวิตราษฎรให้ดีขึ้นได้ถูกทำลายไป ผลที่ตามมาไม่มีป่า นำเริ่มขาดแคลน นำไปสู่สภาพความแห้งแล้ง สมเด็จพระบรมราชินีนาถจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่เพื่อนำความอุดมสมบูรณ์กลับคืนมาพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในพื้นที่บริเวณดังกล่าวให้หลุดพ้นจากความทุกข์ยาก เปลี่ยนสภาพเขาหัวโล้นให้เต็มไปด้วยป่าไม้ต้นกำเนิดแหล่งน้ำ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์นานาชนิด เป็นแหล่งอาหาร แหล่งความชุ่มชื้น ที่ปัจจุบันด้วยพระมหากรุณาธิคุณพื้นที่ดังกล่าวเป็นเช่นนั้นจริงๆ แต่ก็ยังมีเขาอีกหลายลูกยังเป็นเขาหัวโล้นที่คนนอกพื้นที่คงอดแปลกใจไม่ได้ว่าทำไมภูเขาที่ตั้งตระหง่านไกลลิบเดินทางเข้าไปด้วยความยากลำบากเหล่านั้นถึงกลายเป็นเขาหัวโล้น เพราะคนเข้าไปตัดไม้ถางป่ากันจนหมด ตัดยังไงไม่รู้ไม้หมดเขาจริงๆหมดเป็นลูกๆแล้วก็แทบทุกลูก วันเสาร์ที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๕๙ นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี และคณะไปอยู่ที่จังหวัดน่าน ณ โครงการพัฒนาพื้นที่บ้านกอก-บ้านจูนอันเนื่องมาจากพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ตำบลภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน อย่างที่บอกว่าเดินทางเข้าพื้นที่คราวนี้ทุกจุดต้องนั่นรถโฟร์วิลหัวสั่นหัวคอนฯพณฯองคมนตรีพลากรนำคณะเดินทางออกจากจังหวัดน่านไปพื้นที่ด้วยรถระบบโฟร์วิล ก็นั่งหัวสั่นหัวคอนไปเช่นกัน รถวิ่งไปบนถนนหรือทางเกวียนพัฒนา แต่พัฒนาได้บ้างนิดหน่อยที่เป็นหลุมร่องที่น้ำฝนไหลเซาะไหล่เขาส่วนใหญ่ก็ยังคงสภาพเดิมอยู่ รถแล่นไปแบบลงหลุ่มลงร่องโยกซ้ายป่ายขวาไปอย่างช้าๆแต่ก็โยกไปคลอนมา เส้นสายขยายตัวไม่ทันก็ขัดยอกไปตามๆกัน ไม่เฉพาะแค่ฯพณฯองตมนตรีที่สูงวัย ยังอีกหลายท่านอย่างที่ปรึกษาเฉลิมเกียรติ แสนวิเศษ นายกิจจา ผลภาษี แม้แต่ตัวผมก็อยู่ในกลุ่มเดียวกับท่านสูงวัยเช่นกัน แต่ไม่ได้ยินท่านรำพึงรำพันถึงการสมบุกสมบันนั้นเลย ได้ยินก็แต่พวกหนุ่มสาวๆที่บ่นกันพอสมควร แต่เชื่อจริงๆว่าทุกคนมีความสุขแม้จะบุกป่าลุยเขาด้วยเพราะความตั้งใจที่ไปทำงานถวายต่างพระเนตรพระกรรณ น้อมนำเอาพระมหากรุณาธิคุณนำพระราชหฤทัยห่วงใยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถไปถึงประชาชน ไปดูวิถีชีวิตความเป็นอยู่ไปดูการพัฒนาคุณภาพชีวิตหลังที่พระราชทานความช่วยเหลือผ่านโครงการตามพระราชดำริแล้ว ชาวบ้านดำเนินชีวิตกันดีขึ้นไปแค่ไหนเพียงใด ยังขาดแคลนหรือประสบปัญหาใด ก็จะได้แก้ไขปัญหา ทั้งนี้เพื่อสนองพระมหากรุณาธิคุณสืบสานพระราชปณิธานให้ประชาชนทุกคนอยู่กันอย่างมีความสุขบนวิถีแห่งความพออยู่พอกินอย่างยั่งยืน นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรีนำคณะไต่เขาสูงไปเรื่อยๆจนถึงพื้นที่โครงการพัฒนาตามพระราชดำริฯบ้านกอก-บ้านจูนไปยังจุดที่เป็นพื้นราบไหล่เขาทางราชการไปพัฒนาแหล่งน้ำที่ดึงจากภูเขามาเก็บกักไว้ เพื่อให้ชาวบ้านทำนา เป็นอันนาที่ไล่ระดับลงตามความลาดของไหล่เขา มีพื้นราบว่างเปล่าไว้ส่วนหนึ่ง รอบๆพื้นที่เพื่อร่วมกันทำกิจกรรมต่างๆ ทุกทิศเป็นยอดเขาสูงล้อมรอบ ภูเขาหลายลูกอุดมสมบูรณ์หนาแน่นไปด้วยต้นไม้ เป็นพื้นที่อุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติแล้ว เจ้าหน้าที่บอกว่าเพราะภูเขาดังกล่าวอยู่ในพื้ทนี่โครงการตามพระราชดำริที่เดิมทีเดียวเป็นเขาหัวโล้น เมื่อพระราชทานพระราชดำริโครงการพัฒนาพื้นที่เพียงราว 20 ปีที่ผ่านมาทรัพยากรธรรมชาติกลับคืนอุดมสมบูรณ์ไม่แพ้ในอดีตก่อนถูกบุกรุกทำลายเลย ตรงพื้นที่จัดกิจกรรมทั้งข้าราชการที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ในจังหวัดและนักเรียนมารอต้อนรับและร่วมกิจกรรม มีชาวบ้านที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มแม่บ้านทอผ้านำผ้าทอมาวางให้ชมและขายด้วย เป็นผลผลิตผ้าทอที่เกิดจากการส่งเสริมสนับสนุนผ่านโครงการตามพระราชดำริองคมนตรีได้พูดคุยซักถามรวมถึงเน้นย้ำถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงห่วงใยทุกคนตลอดแม้จะมิได้เสด็จฯมาด้วยพระองค์เอง ได้ทรงทุ่มเทพระองค์ที่จะแก้ปัญหาความทุกข์ยากให้พ้นไปจากคนไทยทุกคน จากนั้นองคมนตรีและคณะรับฟังรายงานการดำเนินงานสนองพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถในการพัฒนาพื้นที่และชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นตามหลักการทรงงานระเบิดจากข้างใน ที่ประกอบไปด้วยการพัฒนาแหล่งน้ำ พัฒนาป่าไม้โดยการปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง สร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น ในพื้นที่ทั้งสิ้น ๑๔,๔๖๕ ไร่ จากพื้นที่ป่าเดิมมีสภาพสมบูรณ์ ประมาณ ๑,๓๐๐ ไร่ และป่าเสื่อมโทรมจากการถูกบุกรุกแผ้วถางมีพื้นที่ประมาณ ๑๐,๘๐๐ ไร่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ – พ.ศ. ๒๕๕๖ โครงการฯ ได้มีการดำเนินการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าต้นน้ำลำธารและลดการใช้ประโยชน์ จากพื้นที่ของราษฎร จนป่าไม้ได้รับการฟื้นฟูเพิ่มขึ้น รวมทั้งสิ้น ๗,๒๐๙ ไร่ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สำนักงาน กปร ในการดำเนินงานพัฒนาป่าไม้ นอกจากนี้ในการพัฒนาอาชีพ ได้ส่งเสริมให้ราษฎรทำการเกษตร (นาขั้นบันได) มีพื้นที่ทำนาขั้นบันไดทั้งสิ้น ๕๐๔ ไร่ ปัจจุบันได้ผลผลิตข้าว จำนวน ๑๒,๔๕๙ ถัง ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้น ด้วยสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์มากขึ้นเป็นไปตามพระราชปณิธานในองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ได้ทำให้แหล่งน้ำธรรมชาติในพื้ทนี่อุดมสมบูรณ์มีปริมาณน้ำเพิ่มมากขึ้นไปด้วย พื้นที่ไม่แห้งแล้งดังเมื่อหลายปีก่อน ไม่ว่าจะเป็นห้วยผึ้ง ห้วยพิ ห้วยสะกาด ห้วยเหงียน ห้วยไท ห้วยโขนเป็น ปริมาณน้ำโดยรวมเกือบล้านลูกบาศก์เมตร ที่ชุมชนรอบๆพื้นที่ได้รับประโยชน์ นอกจากนั้นทางราชการได้เข้าไปส่งเสริมระบบน้ำบาดาลอีก 3 พันกว่าแห่ง ในปีงบประมาณ ๒๕๕๘ สำนักงาน กปร. ได้สนับสนุนงบประมาณให้ กรมพัฒนาที่ดิน จำนวน ๑,๘๘๐,๑๐๖ บาท ดำเนินการจัดระบบงานอนุรักษ์ดินและน้ำ โดยการขุดนาขั้นบันได พร้อมกับดำเนินการจัดระบบการทำนาแบบขั้นบันได โดยนำร่องเกษตรกรที่มีความสนใจ จำนวน ๑๗ ราย พื้นที่ดำเนินการ ๕๐ ไร่ บ้านสกาดใต้ ตำบลสกาด อำเภอปัว จังหวัดน่านส่งผลให้คุณภาพชีวิตของชุมชน ของราษฎรในพื้นที่ดีขึ้น มีข้าวเพียงพอต่อการบริโภคทั้งปี (๒๕ ถัง /คน/ปี) มีรายได้จากการปลูกพืชผัก ๒๒๐,๗๐๐ บาท การทอผ้า ๑๗,๐๐๐ บาท และรายได้เสริมจากการขายใบชาอัสสัม การเลี้ยงไก่และสุกร จากเดิมปี พ.ศ. ๒๕๔๓ มีรายได้เฉลี่ย ๙,๐๐๐ บาท/คน/ปี ปัจจุบันราษฎรมีรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ย ๓๔,๘๖๗ บาท/คน/ปี ในการนี้ องคมนตรีได้ให้การสนับสนุนอุปกรณ์ดารเกษตรได้แก่ควายเหล็ก ปุ๋ย เมล็ดพันธุ์ รวมถึงพันธุ์ข้าวปลูกพระราชทานให่แก่ราษฎรในโครงการเพื่อใช้ในการประกอบอาชีพได้ดียิ่งขึ้น แล้วถามชาวบ้านด้วยว่ายังต้องการควายเหล็กเพิ่มมั้ย ทางสำนักงานกปร.จะมอบให้อีกถ้ายังต้องการ พร้อมกันนี้องคมนตรีและคณะ ร่วมกับข้าราชการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อบต ราษฎรและนักเรียนจำนวน 200 คนร่วมดำนาขั้นบันไดโดยใช้พันธุ์ ข้าวก่ำจ้าว ในการปลูกในครั้งนี้และปล่อยกบเลี้ยงในนาข้าว ได้เวลาแล้วจึงล่ำลานั่งรถไต่เขาหัวสานหัวคอนเช่นขาขึ้นลงไปยังจังหวัดเพื่อเดินทางกลับ เกี่ยวกับผลผลิตผ้าทอของกลุ่มแม่บ้านบ้านกอกบ้านจูนรวมตัวกัน 26 คนทำใช้เวลาทอผ้าในช่วงเช้ากับช่วงเย็น กลางวันไปทำงานเกษตรตามปรกติ ผ้า1 ผืนใช้เวลาทอ 3 วัน เอาไปส่งศูนย์ศิลปาชีพปีละ 2 ครั้งครั้งละประมาณ 10-20 ผืนตามแต่จะผลิตได้ ผ้าทอตั้งราคาขายผืนละ500-600 บาทกลุ่มแม่บ้านตั้งเองขึ้นอยู่กับความยากง่ายในการทอ วันนี้ผืนป่าพื้นที่อำเภอปัวอุดมสมบูรณ์ดังอดีตแล้ว เป็นรากฐานการนำสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่นดังกล่าวให้หลุดพ้นจากความทุกข์อันเกิดจากการดำเนินชีวิต หลุดพ้นความอดอยากขาดแคลน มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นด้วยความพอยู่พอกินมีความสุขอย่างยั่งยืนสมดังพระราชปณิธาน องคมนตรีพลากร สุวรรณรัฐไปเยี่ยมโครงการบ้านกอก-บ้านจูนฯ รวม 8 ครั้งตั้งแต่ปี 2548-2559 โครงการพัฒนาบ้านกอก-บ้านจูนอันเนื่องมาจากพระราชดำริอำเภอปัว จังหวัดน่านเกิดขึ้นด้วยเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2543 สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฏราชกุมารไปทรงเยี่ยมราษฎรบ้านกอก หมู่ 11 ตำบลภูคา อำเภอปัว ได้พระราชทานพระราชดำริให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการพัฒนาความเป็นอยู่ของราษฎร โดยทรงเน้นการพัฒนาจากข้างในก่อนแล้วค่อยระเบิดออกไปข้างนอกด้วยการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ พัฒนาป่าไม้ พัฒนาอาชีพ ตลอดจนพัฒนาคุณภาพชีวิต ต่อมาวันที่ 31 มกราคม 2548 สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในโครงการพัฒนาบ้านกอก-บ้านจูน ได้มีพระราชดำรัสเรื่องการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมของโครงการฯสรุปความว่า ขอให้ปลูกและฟื้นฟูป่าไม้ จะทำให้เกิดความชุ่มชื้นและปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้น โดยต้องมีมาตรการป้องกันการตัดไม้ทำลายป่า