เมื่อเวลา 09.22 น. ของวันที่ 17 มิถุนายน สำนักงานด้านวิศวกรรมอวกาศที่มีมนุษย์ขับเคลื่อนแห่งชาติจีน (China Manned Space Engineering Office) รายงานว่ายาน“เสินโจว-12” ได้นำพานักบินอวกาศ 3 คน ได้แก่ เนี่ยไห่เซิ่ง (Nie Haisheng),หลิวโป๋หมิง (Liu Boming) และถางหงโป (Tang Hongbo) ส่งขึ้นสู่ห้วงอวกาศไปยังโมดูลหลักของสถานีอวกาศเทียนเหอ เพื่อปฏิบัติภารกิจเป็นเวลา 3 เดือน ปฏิบัติภารกิจประมาณ 3 เดือน ทีมนักบินอวกาศในครั้งนี้ประกอบด้วย “เนี่ยไห่เซิ่ง” “หลิวโป๋หมิง” และ “ถางหงโป” โดยมี “เนี่ยไห่เซิ่ง” เป็นผู้บัญชาการในการปฏิบัติภารกิจครั้งนี้ ในฐานะที่เขาเป็นนักบินอวกาศที่มีประสบการณ์สูง และเคยเข้าร่วมปฏิบัติภารกิจ “เสินโจว-6” และ “เสินโจว-10” ทั้งนี้ “หลิวโป๋หมิง” ก็ยังเคยเข้าร่วมปฏิบัติภารกิจ “เสินโจว-7”ด้วย แต่มีเพียง “ถางหงโป” เท่านั้นที่ได้ปฏิบัติภารกิจอวกาศเป็นครั้งแรก หลังจากยานอวกาศ “เสินโจว-12” เข้าสู่วงโคจร ตัวยานเคลื่อนที่ไปจุดนัดพบและการเชื่อมต่ออัตโนมัติอย่างรวดเร็วกับทางส่วนหน้าของโมดูลหลักของสถานีอวกาศเทียนเหอ ซึ่งตัวยานขนส่งสัมภาระเทียนโจว-2จะเชื่อมเข้ากับโมดูลหลักของสถานีอวกาศ นักบินอวกาศเข้าประจำการในโมดูลหลักเพื่อปฏิบัติภารกิจ หลังจากปฏิบัติภารกิจประมาณ 3 เดือนแล้ว นักบินทั้งสามจะนำยาวอวกาศบินกลับโลกยังจุดลงจอดที่ตงเฟิง ในเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน แบกรับภารกิจหลัก 4 ประการ ภารกิจหลักของนักบินอวกาศทั้ง 3 คน จะดำเนินภารกิจหลัก 4 ด้านระหว่างประจำการอยู่ในวงโคจร ดังนี้ ภารกิจที่ 1 ดำเนินงานบริหารจัดการสถานีอวกาศประจำวัน ซึ่งครอบคลุมถึงการทดสอบวงโคจรของโมดูลหลักของสถานีอวกาศเทียนเหอ ตรวจสอบระบบรีไซเคิลและช่วยชีวิต ทดสอบและฝึกควบคุมการทำงานของแขนหุ่นยนต์ ตลอดจนการจัดการวัสดุ และขยะต่าง ๆ ภารกิจที่ 2 การทำภารกิจนอกยาน ซึ่งประกอบด้วยการเคลื่อนย้าย ประกอบ และทดสอบชุดอวกาศนอกตัวยาน รวมถึงดำเนินออกนอกตัวยาน 2 ครั้ง โดยเป็นการประกอบกล่องเครื่องมือ การยกกล้องพาโนรามา และติดตั้งชุดปั้มแบบขยาย ภารกิจที่ 3 ดำเนินการทดลองทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดำเนินภารกิจทดสอบและประกอบอุปกรณ์อวกาศ ดำเนินการทดลองและทดสอบในด้านการใช้งานอวกาศ และเวชศาสตร์การบินและอวกาศตามตามลำดับ รวมถึงกิจกรรมเกี่ยวกับการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ภารกิจที่ 4 จัดการดูแลสุขภาพร่างกายของตนเอง ดูแลตนเองในชีวิตประจำวัน ออกกำลังกาย ติดตามและประเมินสถานะสุขภาพร่างกายของตนเองอย่างสม่ำเสมอตามแผนที่วางเอาไว้ การใช้ชีวิตในอวกาศ จากการประสบความสำเร็จในการปล่อยสถานีอวกาศเทียนกง-1สู่อวกาศ เมื่อปี 2011 ซึ่งสถานีอวกาศดังกล่าวมีน้ำหนักรวมประมาณ 8 ตัน มีพื้นที่ภายในให้นักบินอวกาศเคลื่อนไหวเพียง 15 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งมีพื้นที่ภายในเพียงพอต่อความต้องการของนักบินอวกาศ 3 คนในการทำงานและใช้ชีวิต และเพื่อเป็นการเพิ่มความ “สะดวกสบาย” ในการใช้ชีวิตบนอวกาศของนักบินอวกาศ ดังนั้น เมื่อปี 2021 จีนจึงได้ดำเนินการออกแบบและสร้างสถานีอวกาศให้มีพื้นที่และมีสภาพแลดล้อมภายในให้มีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น มีพื้นที่ภายในทั้งสถานีรวมถึง 110 ลูกบาศก์เมตร ขณะเดียวกัน สถานีอวกาศของจีนได้ยึดแนวคิดด้านการออกแบบ “ให้เข้ากับความต้องการของมนุษย์ฤ” โดยได้แบ่งการออกแบบให้มีพื้นที่การใช้ชีวิตประจำวันและพื้นที่ปฏิบัติงาน ซึ่งภายในพื้นที่การใช้ชีวิตประจำวันก็ได้แบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วน ๆ ได้แก่ พื้นที่หลับนอน สุขา ออกกำลังกาย ห้องครัว และรับประทานอาหาร การออกแบบได้คำนึงถึงความเป็นส่วนตัวและสะดวกสบาย เพื่อให้คุณภาพชีวิตในอวกาศของนักบินอวกาศมีดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ นักบินอวกาศยังสามารถ “นอนหลับได้อย่างอิสระ” ถึงแม้ว่าพวกเขาจะยังคงนอนในถุงนอนก็ตาม แต่ได้เปลี่ยนลักษณะการหลับนอนจากท่ายืนเป็นท่านอนราบแล้ว ส่วนพื้นที่การหลับนอนที่ออกแบบให้มีความส่วนตัวสามารถทำให้นักบินอวกาศมีความผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น มีความเพลิดเพลินกับการนอนหลับที่มีคุณภาพ    ถึงแม้นักบินอวกาศไม่สามารถอาบน้ำแบบใช้ฝักบัวหรืออ่างอาบน้ำได้เหมือนกับบนโลก แต่ทุกคนก็สามารถอาบน้ำภายในถุงอาบน้ำได้ ทำความสะอาดร่างกายให้สะอาดได้เช่นเดียวกัน    นอกจากนี้ ความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องด้านการสื่อสารและเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตของจีนตลอด 10 ปีที่ผ่านมา เหล่าผู้ออกแบบได้ปรับปรุงแผนการออกแบบองค์รวมให้ดีขึ้นเรื่อยมา ได้เลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ล่าสุด เพื่อให้สถานีอวกาศของจีนมีระบบ “Wi-Fi และเครือข่ายเคลื่อนที่” ทั้งยังสร้างพื้นที่ใช้สอยภายในแบบอัจฉริยะด้วย