พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ภาพรวมของ แนวนโยบายประชารัฐ รัฐบาลปัจจุบันมีนโยบายสำคัญประการหนึ่งคือ ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างรายได้และความเจริญ ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจให้ครอบคลุมทั้งประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจระดับฐานราก ซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่ของประเทศ ภารกิจและเป้าหมายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากเป็นเศรษฐกิจระดับชุมชน เป็นเรื่องการผลิต การตลาด การบริโภคที่เกี่ยวข้องกับปากท้องของประชาชนระดับพื้นที่ ซึ่งที่ผ่านมาต้องยอมรับข้อเท็จจริงว่า มีพลังขับเคลื่อนน้อย เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่จะเป็นเกษตรกร เป็นผู้ผลิตรายย่อย และกระจัดกระจาย ขาดการเชื่อมทางเศรษฐกิจให้ประชาชนได้รับผลอย่างเต็มรูป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการตลาดและการสร้างรายได้ เหตุนี้ รัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จึงได้มีนโยบายสานพลังประชารัฐเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก โดยมี “ประชารัฐ” เป็นกลไกสำคัญ มีการตั้งคณะทำงานร่วมภาครัฐ-เอกชน-ประชาชน ขึ้นมาจำนวน 12 คณะ เพื่อทำหน้าที่ขับเคลื่อนงานในแต่ละด้าน หนึ่งในนั้นคือ คณะทำงานด้านการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ ซึ่งมี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นหัวหน้าทีมภาครัฐ และนายฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการ บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ เป็นหัวหน้าทีมภาคเอกชน คณะทำงานนี้ กำหนดการขับเคลื่อนงานโดยมีเป้าหมายที่เป็น Action Agenda 3 ประเด็นหลัก คือ ลดความเหลื่อมล้ำ เน้นในการสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนโดยยึดความต้องการของชุมชนเป็นตัวตั้ง พัฒนาคุณภาพคน เน้นสร้างองค์ความรู้ในระดับชุมชน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เน้นสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน โดยดำเนินงานสนับสนุน ส่งเสริมและร่วมกับชุมชน /กลุ่มอาชีพ ในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจฐานราก 5 กระบวนงาน คือ การเข้าถึงแหล่งทุนหรือปัจจัยการผลิต การบริหารจัดการ การสร้างองค์ความรู้ในการผลิตหรือการประกอบอาชีพ การตลาดและการสื่อสารสร้างการรับรู้ โดยให้มี กลไกการดำเนินงานระดับพื้นที่หรือปฏิบัติการคือ “วิสาหกิจเพื่อสังคม” หรือ Social Enterprise Social Enterprise หรือวิสาหกิจเพื่อสังคม เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ฐานรากและประชารัฐนี้ มีเป้าหมายหลักเพื่อสังคมไม่ใช่เพื่อกำไรสูงสุด เป็นประเด็น แนวทางการดำเนินงาน ธุรกิจที่รายได้หลักมาจากการขายสินค้าและบริการ ไม่ใช่เงินจากรัฐหรือเงินบริจาคกำไรต้องนำไปใช้ขยายผล ไม่ใช่ปันผลเพื่อประโยชน์ส่วนตัวบริหารจัดการตามหลัก ธรรมาภิบาล และมีการจดทะเบียนเป็นรูปแบบบริษัท โดยใช้ชื่อว่า "บริษัทประชารัฐรักสามัคคี (ชื่อจังหวัด) จำกัด”เป็นการระดมผู้ร่วมลงทุนจากภาคธุรกิจเอกชนในระดับชาติและในพื้นที่ร่วมกับภาคประชาชนและกลุ่มประชาสังคม -ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา มีความประสบ ความสำเร็จ อย่างไรบ้าง การขับเคลื่อนพลังประชารัฐ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ขณะนี้กล่าวได้ว่ามีผลงานออกมาเป็นรูปธรรมทั้งในส่วนกลางและพื้นที่ ในส่วนกลาง คือ การขับเคลื่อนระดับนโยบายและกำหนดรูปแบบการทำงาน การสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน วิชาการและประชาสังคม การกำหนดกรอบกติกาที่เชื่อมโยงการทำงานระหว่างส่วนกลางกับภูมิภาคหรือพื้นที่ จัดทำคู่มือการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ และการบริหารบริษัท ประชารัฐรักสามัคคี จำกัด จัดประชุมถ่ายทอดและสื่อสารสร้างความรับรู้ ความเข้าใจแนวทางปฏิบัติแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดในการดำเนินงานสานพลังประชารัฐในระดับพื้น จัดตั้งศูนย์ประสานงานการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ เพื่อให้เป็นหน่วย การสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐส่วนกลางและจังหวัด ทั้งด้านองค์ความรู้ การพัฒนาบุคลากร การให้คำแนะนำและปรึกษาการบริหารจัดการ กฎหมาย ระเบียบปฏิบัติต่างๆ และประสานงาน กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐจังหวัด และที่สำคัญคือจัดตั้ง บริษัทประชารัฐ รักสามัคคีประเทศไทย จำกัด เป็นบริษัท Holding กลาง ทำหน้าที่ บริหารจัดการองค์ความรู้ ส่งเสริมการพัฒนารูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ การสร้างตราสินค้า และมาตรฐานการรับรองสินค้า บริหารการขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา ประชาสัมพันธ์สินค้าชุมชนร่วมกับรัฐบาล ขับเคลื่อนการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าชุมชน หาช่องทางการตลาดและการจัดจำหน่าย ส่งเสริมสินค้าหลักของแต่ละชุมชน เชื่อมโยงการตลาดระดับประเทศ ในส่วนภูมิภาค ได้จัดตั้งคณะกรรมการประสานและขับเคลื่อน นโยบายสานพลังประชารัฐจังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน มีรองผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ และคณะทำงานจากภาคส่วนต่างๆ ในพื้นที่ ทั้งภาคราชการ เอกชน และประชาสังคม และผู้แทนจากคณะทำงานสานพลังประชารัฐ ทั้ง 12 คณะ เป็นกรรมการ โดยมีหน้าที่เป็นองค์กรในการวิเคราะห์ กลั่นกรอง สนับสนุน และประสานเชื่อมโยงแผนงานโครงการ ตลอดจนกิจกรรมต่างๆ ของคณะทำงานสานพลังประชารัฐ ทั้ง 12 ประเด็น แนวทางการดำเนินงาน คณะ ที่ดำเนินงานในพื้นที่จังหวัด และทำขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐจังหวัดให้เป็นรูปธรรม จัดตั้งบริษัทประชารัฐรักสามัคคีจังหวัด ให้เป็นกลไกระดับพื้นที่ ทำหน้าที่ ค้นหาชุมชนที่มีศักยภาพและมีความพร้อมที่จะเข้าร่วมดำเนินการบริหารจัดการบริษัท สร้างรายได้ในชุมชนเพื่อให้ชุมชนมีความสุขอย่างยั่งยืน เป็นที่ปรึกษาด้านการบริหารและพัฒนาสินค้าแก่ชุมชน หาช่องทางการตลาดและการจัดจำหน่ายระดับจังหวัด ส่งเสริมสินค้าชุมชนในจังหวัดให้เป็นที่รู้จักระดับประเทศ ขณะนี้การดำเนินงานในส่วนระดับจังหวัด มีการแบ่งการดำเนินการออกเป็น 4 ระยะ(เฟส) คือ ระยะที่ 1 พื้นที่นำร่อง 5 จังหวัด จดทะเบียนจัดตั้ง บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี ไปแล้วตั้งแต่เดือนเมษายน ได้แก่ ภูเก็ต เพชรบุรี อุดรธานี เชียงใหม่ และบุรีรัมย์ ระยะที่ 2 ดำเนินการจดทะเบียนเพิ่มอีก 6 จังหวัด แล้วเสร็จในเดือนมิถุนายน คือ จังหวัดน่าน ชุมพร อุบลราชธานี พิษณุโลก ร้อยเอ็ด และสระแก้ว ระยะที่ 3 จำนวน 7 จังหวัด คือ จังหวัดสงขลา สกลนคร กาญจนบุรี ตราด อุทัยธานี สระบุรี และชัยนาท ระยะที่ 4 ที่เหลืออีก 58 จังหวัดจะดำเนินการให้ครบภายในเดือนธันวาคม 2559 ผลการดำเนินงานในขณะนี้ไปได้ไกลกว่าแผน ทั้ง 3 ระยะ โดยมีจังหวัด จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทประชารัฐ รักสามัคคีไปแล้ว กว่า 25 จังหวัด และพร้อมที่จะจดในสิ้นกันยายนอีก 20 จังหวัด ได้แก่ แพร่ ศรีสะเกษ มุกดาหาร อ่างทอง นครนายก นครราชสีมา นครพนม ขอนแก่น นครศรีธรรมราช เพชรบูรณ์ และเชียงราย และนนทบุรี เป็นต้น ปัญหาและอุปสรรคในการขับเคลื่อนนโยบายประชารัฐที่เกิดขึ้น การดำเนินการที่ผ่านมาในขณะนี้ยังไม่พบปัญหาแต่อย่างใด เนื่องจากการดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายประชารัฐ โดยการจัดตั้งบริษัท ประชารัฐ รักสามัคคี จำกัด ได้กำหนดแนวทางไว้อย่างชัดเจนสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ คือ สร้างรายได้ให้ชุมชน ประชาชนมีความสุขอย่างยั่งยืน ด้วยการรวมพลังจากทุกภาคส่วน บนฐานคติของจิตสำนึกที่ดี รู้รักสามัคคี เดินหน้าประเทศไทยไปด้วยกัน อีกประการหนึ่ง รัฐบาลได้มีการตั้งคณะกรรมการฯ ทั้งระดับชาติ และระดับจังหวัดมาติดตามสนับสนุนการดำเนินงาน ซึ่งจะช่วยให้บริษัทประชารัฐรักสามัคคี เดินไปตามวัตถุประสงค์ ความรู้ ความเข้าใจตลอดจนการได้รับความร่วมมือจากหน่วยงาน ต่าง ๆและภาคประชาชน เป็น อย่างไรบ้าง ถึงขณะนี้ เป็นที่ภูมิใจว่า ประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ มีความรับรู้ เรื่องนี้ดีมาก และเฝ้าแต่หวังเห็นความสำเร็จที่ออกมาเป็นรูปธรรมและขยายผลต่อไปให้กว้างขวางมากขึ้น ผลรูปธรรมที่เกิดขึ้น มีความเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด ยกตัวอย่าง บริษัท ประชารัฐรักสามัคคีภูเก็ต จำกัด ซึ่งมีผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร คือ สับปะรดภูเก็ตกุ้งล็อบสเตอร์ ฯลฯ ได้รับการหยิบยกขึ้นมาพัฒนาอย่างเป็นระบบตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง จนถึงปลายทาง ทำให้เกิดรายได้จากสับปะรดเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ขณะที่กุ้งล็อบสเตอร์เองก็เกิดการตื่นตัว จนราคาพุ่งขึ้นสูงและผลิตไม่ทัน สร้างรายได้ให้หล่อเลี้ยงและพัฒนาชุมชนมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีอีกหลายกรณีหลายพื้นที่ เช่น การแก้ปัญหาลำไย ที่เชียงใหม่ การปรับรูปแบบผลิตภัณฑ์ขนมหม้อแกง การท่องเที่ยวโดยชุมชนตาลโตนด ที่เพชรบุรี หรือแม้แต่การแก้ปัญหาและส่งเสริมการผลิตและการตลาดลองกอง ของพี่น้อง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่จะเกิดขึ้นในปลายเดือนกันยายนนี้ เป็นต้น ในส่วนของรัฐบาลได้สนับสนุนความเข้มแข็งของวิสาหกิจเพื่อสังคมโดยออกกฎหมายให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้ที่ร่วมลงทุนกับบริษัทวิสาหกิจเพื่อสังคม รวมถึงการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิของวิสาหกิจเพื่อสังคม อีกด้วย บริษัทประชารัฐรักสามัคคี จึงเป็นแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากในรูปแบบ “สานพลังประชารัฐ” คือ นำจุดแข็งของแต่ละภาคส่วนมาช่วยขับเคลื่อนความเข้มแข้งของชุมชน ภาครัฐ มีจุดแข็ง คือ มีบุคลากรหรือข้าราชการอยู่เต็มพื้นที่ มีสายการบังคับบัญชาที่ชัดเจน มีการสนับสนุนการทำงานที่เป็นระบบภาคธุรกิจเอกชน มีจุดแข็ง คือ มีองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีการบริหารจัดการแบบมืออาชีพ ในส่วนของภาคประชาชน จุดแข็งคือความสามารถในการสร้างผลผลิตที่หลากหลายและมีความรักถิ่นฐานบ้านเกิด ภาคประชาสังคมมีรูปแบบการทำงานที่เข้าถึง เข้าใจ เพื่อพัฒนา และภาควิชาการที่มีผลงานการวิจัย องค์ความรู้ในการต่อยอดการพัฒนา ทั้งหมดนี้ เป็นช่องทางให้เกิดการสานพลังสร้างเศรษฐกิจฐานรากของประเทศได้อย่างไร้ขีดจำกัด และยิ่งมีคณะทำงานฯ ที่มีความเอาจริงเอาจัง ก็จะเป็นกลไกสำคัญนำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจตั้งแต่ระดับครัวเรือนให้มั่นคง และสร้างชุมชน ให้เกิดการพัฒนาจากภายในสู่ความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนต่อไป โดยอนาคตต่อจากนี้ ภาครัฐจะสนับสนุนให้การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ส่วนอนาคตของบริษัทจะมีคณะกรรมการบริหารมาเป็นกลไกดำเนินการบริหารจัดการเหมือนบริษัททั่วไป แต่สิ่งที่คณะทำงานอยากเห็นคือ เมื่อจัดตั้งบริษัทประชารัฐรักสามัคคี จำกัด ครบทั้ง 76 จังหวัด บริษัทจะเป็นกลไกสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานรากใน 2ระดับ คือ ระดับครัวเรือน เศรษฐกิจครัวเรือนของประชาชนที่ดำเนินการใน 3 ประเภท คือ การเกษตร การแปรรูป และการท่องเที่ยว จะถูกนำมาบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ เกิดรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ สร้างเศรษฐกิจครัวเรือนและเศรษฐกิจฐานรากให้มั่นคง อีกส่วนหนึ่งคือ ระดับชุมชน จะมีผลกำไรของบริษัทหมุนเวียนอยู่ในชุมชนเกิดการพัฒนาจากภายในสู่ความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนต่อไป