เมื่อเวลา 15.40 น.วันที่ 4 พ.ย.2566 ที่นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด 2 (WHA ESIE2) ต.เขาคันทรง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง พร้อมคณะเยี่ยมชมโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า โดยมีน.ส.จรีพร จารุกรสกุล ประธานคณะกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ต้อนรับและบรรยายสรุป พร้อม 6 ข้อเสนอเพื่อพิจารณา ช่วยสนับสนุนการประกอบธุรกิจพัฒนานิคมอุตสาหกรรมในอีอีซี

ประกอบด้วย 1. กำหนดสัดส่วนการใช้ประโยชน์การใช้ประโยชน์ที่ดินในผังเมืองร่วมชุมชนในอีอีซี ให้จัดสรรที่ดินที่ดินเพื่ออุตสาหกรรมได้ 2. ปรับปรุงขั้นตอนและระยะเวลาในการในการจัดทำรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ) 3. ปรับลดระยะเวลาในการเปลี่ยนแปลงสภาพทาง สาธารณะประโยชน์ตามพ.ร.บ.การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ. )ให้มีความกระชับมากขึ้น 4. การจัดสรรน้ำดิบให้เพียงพอ ต่อการใช้น้ำของภาคอุตสาหกรรม 5. การเพิ่มแนวทางให้ผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมสามารถจัดหาพลังงานพลังงานหมุนเวียนร้อยเปอร์เซ็นต์ให้แก่ผู้ประกอบการได้มากขึ้น และ 6. การจัดตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อขับเคลื่อนการลงทุนในพื้นที่อีอีซี


 
จากนั้น นายกฯ ขึ้นกล่าวบนเวทีตอนหนึ่งว่า รัฐบาลให้การสนับสนุนรถยนต์อีวีอยู่แล้ว ทั้งบีโอไอและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้เข้าไปช่วยกันดำเนินงานช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา จนประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตรถยนต์รถยนต์อีวีที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเชียงใต้ ทั้งนี้เมื่อวันที่ 1 ก.ย.ตนในฐานะคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) ได้เร่งต่อมาตรการระยะที่ 2-5 ออกไป ซึ่งน่าจะเป็นที่พอใจนักลงทุนต่างประเทศ ทั้งนี้ ตนมีข้อเสนอแนะ อาทิ เร่งผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อลดภาวะคาร์บอน การพัฒนาห่วงโซ่การผลิตที่จะต้องมีการตั้งโรงงานเพื่อทำให้เกิดสินค้าและการบริการ เรื่องแบตเตอรี่ที่จะต้องมีการรียูส รีไซเคิล และการทำลายที่ไม่กระทบกับสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ตนจะให้นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรีและรมว.ต่างประเทศ มาร่วม เร่งพัฒนาแก้ไขและเซ็นสัญญาเอฟทีเอ กับทางต่างประเทศ

นายกฯ กล่าวว่า ที่ผ่านมาเราได้ต่อยอดจากรัฐบาลที่แล้วซึ่งก็ต้องให้เครดิต ที่เริ่มพัฒนาในแง่ของการให้รถอีวีถ้ามาเปิดโรงงานในประเทศไทย และหลังตนเข้ามาได้ไปพูดคุยกับต่างประเทศเพื่อให้เพื่อให้เขาเข้าใจว่าประเทศไทยเปิดแล้วและพร้อมที่จะต้อนรับนักลงทุนจากต่างประเทศ ไม่มีเวลาไหนที่ดีเท่ากับตอนนี้ที่ให้นักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุนในประเทศไทย สำหรับข้อเสนอทั้ง 6 ข้อ เราก็ตระหนักดีและจะพยายามช่วยเหลือให้เร็วกว่า 5 ปี

นายกฯ กล่าวว่าเรื่องของน้ำรัฐบาลนี้ให้ความสำคัญภาคเกษตร เป็นภาคที่ใหญ่ของประเทศไทย ซึ่งเราต้องให้ความสำคัญ เราไม่อยากให้มีความขัดแย้ง ระหว่างภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรม ฉะนั้น เรื่องการบริหารจัดการน้ำ การเตรียมแหล่งน้ำที่เพียงพอ ต้องมีการบูรณาการอย่างระยะยาว ซึ่งตอนที่เราเข้ามาพบว่าตอนแรกมีปัญหาแต่ด้วยความสามารถของกรมชลประทาน และการประสานงานที่ดีระหว่างภาคเอกชนกับรัฐบาลทำให้แก้ไขแก้ไขปัญหาได้

“ ส่วนเรื่องที่มีคนมาด้อยค่าประเทศไทยว่า น้ำแล้งไม่สามารถทำอุตสาหกรรมได้ ถ้ามีใครมาพูดก็ขอให้ตอบโต้กลับไป เพราะจะมีต่างชาติมาแย่งนักธุรกิจไปลงทุน ผมขอยืนยันว่า เรามีน้ำเพียงพออุตสาหกรรมในประเทศ ทั้งนี้ อีกไม่เกิน 3 เดือน เราจะสามารถประกาศได้อย่างเต็มที่ว่าได้มีการขับเคลื่อนอีอีซีอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งจะยกระดับภาคอุตสาหกรรมและ ชีวิตความเป็นอยู่ประชาชน คนไทยทุกคนต่อไป” นายกฯกล่าว

จากนั้น นายกฯพร้อมนายธนากร เสรีบุรี รองประธานอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์ และประธานบริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์ ซีพี จำกัด และ น.ส.จรีพร ได้ร่วมลงนามบนรถยนต์พลังงานไฟฟ้า (อีวี) ยี่ห้อ เอ็มจี รุ่น เอ็นจี 4 และบนแบตเตอรี่รถยนต์อีวี เพื่อเป็นที่ระลึก ซึ่งทั้งสองเป็นผลิตภัณฑ์ของยี่ห้อเอ็มจีรุ่นแรกที่ประกอบในประเทศไทย