ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ / ทหารประชาธิปไตย

ในยุคของประธานาธิบดีไบเดน ความขัดแย้งทางสังคมและการเมืองทวีความรุนแรงอย่างไร้ทางที่จะผ่อนปรนลง

การปลุกระดมของทรัมป์ต่อพวกผิวขาว หัวรุนแรง ขวาจัด การเหยียดผิว เหยียดเชื้อชาติและศาสนา นับวันแต่จะเพิ่มมากขึ้น และเกี่ยวโยงกับการก่อเหตุรุนแรง การใช้ถ้อยคำแสดงความเกลียดชังจนไปถึงการใช้อาวุธปืนที่หาซื้อได้ไม่ยาก ทั้งที่ถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย ด้วยอิทธิพลของอุตสาหกรรมผลิตอาวุธที่ทำให้กฎหมายการควบคุมเข้มงวดไม่สามารถผ่านสภาออกมาได้

จากสถิติคนอเมริกันครอบครองอาวุธปืนถึง 3 เท่าของประชากรเป็นอย่างน้อย ซึ่งนับว่าน่าตกใจอย่างยิ่ง

ปัจจัยหนึ่งคือการเพิ่มอำนาจของฝ่ายบริหารด้วยกฎหมายและการจัดตั้งกระทรวงพิทักษ์มาตุภูมิ ภายหลังการถล่มตึกเวิลด์เทรดเมื่อเหตุการณ์ 9/11 ในยุคของประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช แห่งพรรครีพับลิกัน

แต่ครั้นมาสู่ยุคของเดโมแครตตั้งแต่โอบามา สลับด้วยทรัมป์ และมาถึงยุคไบเดน ฝ่ายบริหารก็มิได้ทำการแก้ไขแต่กลับใช้ประโยชน์จากกฎหมายดังกล่าวเพื่อความสะดวกในการทำงาน และทำให้ประชาธิปไตยตกต่ำถึงขีดสุด จนความเป็นนิติรัฐ นิติธรรมเกือบไม่มีความหมายในยุคปัจจุบัน

อย่างไรก็ตามสหรัฐฯพยายามที่จะไปสอนประเทศอื่นๆในเรื่องประชาธิปไตย และการยึดหลักการประชาธิปไตย ในขณะที่สภาพในบ้านตนเอง ประชาธิปไตยกำลังเสื่อมโทรมลงอย่างยิ่ง

แต่สหรัฐฯก็ยังใช้ข้ออ้างนี้ในการดำเนินนโยบายต่างประเทศและการทหารในการจัดการกับประเทศที่ขัดต่อผลประโยชน์ของตนเองและพันธมิตร เช่น การบุกโจมตียึดครองอิรักโดยมิได้รับฉันทมติจากสหประชาชาติ รวมทั้งการบุกทำลายลิเบียจนยับเยินกลายเป็นรัฐล้มเหลวจนปัจจุบัน

นอกจากนี้สหรัฐฯยังใช้แนวทางในการปฏิบัติต่อประเทศต่างๆแบบ 2 มาตรฐาน โดยขึ้นอยู่กับผลประโยชน์ของตนเองและพันธมิตร โดยเฉพาะผลประโยชน์ของอิสราเอล เหนือกว่าผลประโยชน์ของประชาชนของตนเอง

แต่มันเป็นผลประโยชน์ของอีลิทและอุตสาหกรรมสำคัญๆที่มีฐานะเป็น Deep State (รัฐลึขก) เช่น อุตสาหกรรมผลิตอาวุธ สื่อสิ่งพิมพ์ พลังงาน ยา การเงิน การธนาคาร และยังรวมไปถึงเครื่องมือล้างสมองอย่างฮอลลีวู้ด

แม้แต่หลักการเสรีในการพูดที่สหรัฐฯ ยึดถือมายาวนาน ก็ถูกละเมิดแม้แต่ในสภาคองเกรส ตัวอย่างเช่น สมาชิกสภาผู้แทนจากมิชิแกน ซึ่งมีเชื้อสายปาเลสไตน์ขออภิปรายเพื่อให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ เรื่องงบสนับสนุนอิสราเอลในการทำสงครามกับฮามาส ทว่าเธอถูกสั่งห้ามมิให้อภิปราย ทั้งที่มันเป็นสิทธิของผู้แทน แต่สภาใช้กฎหมู่อยู่เหนือกฎหมาย และสิทธิการพูดโดยเสรีก็ถูกทำลายลงอย่างสิ้นเชิง

นี่ยังไม่นับการที่สาวกของทรัมป์ได้บุกเข้าไปในรัฐสภาเพื่อขัดขวางการตัดสินรับรองการเลือกตั้งไบเดน

76% ของคนอเมริกันมองว่าความเห็นของผู้เชี่ยวชาญว่าการสั่งฟ้องทรัมป์ในเรื่องการแสดงออกทางการเมือง เป็นการทำให้ประชาธิปไตยเสื่อมโทรมลง แม้ว่าทรัมป์จะทำผิดที่ไม่เคารพกฎหมายก็ตาม

ในความเป็นจริงการเลือกตั้งครั้งใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นปลายปีหน้านั้นก็ไม่ใช่การเลือกตั้งที่แท้จริง เพราะมีตัวเลือกน้อยมาก โดยการผูกขาดของพรรคการเมืองเพียง 2 พรรค

ความพยายามของพรรคเดโมแครตที่จะโน้มน้าวประชาชนให้สนับสนุนโจ ไบเดน เป็นสมัยที่ 2 ดูจะเป็นเรื่องที่โง่เหง้า เพราะในสายตาสาธารณ ไบเดน ดูจะหมดสภาพที่จะเป็นผู้นำอีกต่อไป

ในขณะที่พรรครีพับลิกันก็กำลังพบกับปัญหาที่คล้ายคลึงกัน นั่นคือการนำเสนอโดนัล ทรัมป์ ในการเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี

ทั้งหลายทั้งปวงมันขึ้นอยู่กับกลุ่มอีลิทหรือพวก Deep State (รัฐลึก) ซึ่งโยงใยกับธุรกิจและขบวนการยิวไซออนิสต์ หรือจะพูดให้ชัดคือการบงการของตระกูลรอธไชล์

ในอีกมุมมองแม้ว่าพรรคเดโมแครตจะพยายามหรือแสดงออกในการต่อต้านการเหยียดผิว จนบางครั้งก็ให้สิทธิพิเศษอย่างเกินเลยในการสนับสนุนคนผิวสี โดยเฉพาะแอฟโฟรอเมริกัน แต่มันก็เป็นการต่อสู้เพื่อหวังคะแนนเสียงในลักษณะของนโยบายประชานิยม

การดำเนินการของ จอร์จ โซรอส โดย The Soros Open Society Foundation นับว่าเป็นองค์กรที่เล่นบทอย่างโดดเด่นภายใต้การนำของโซรอส (ซึ่งก็เป็นหนึ่งในแกนนำของยิวไซออนิสต์) ได้สร้างประชาธิปไตยพหุเชื้อชาติสีผิว มีเป้าหมายที่คอยจัดการกับกลุ่มอนุรักษนิยม ที่ให้การสนับสนุนสื่อโทรทัศน์ที่กำลังเป็นที่นิยมของกลุ่มฝ่ายขวา ที่เน้นสีผิว คือ ชนผิวขาวที่กลายเป็นชนส่วนน้อย แต่มีการเคลื่อนไหวที่เข้มแข็งและเข้มข้น โดยการโจมตีว่าเป็นพวกหัวรุนแรง

ทั้งนี้ในความเป็นจริงกลุ่มนี้ก็มีจำนวน คนผิวขาวไม่น้อยกว่า 40% ของประชากรทั้งหมดและหากเจาะลึกลงไป คนผิวขาวเหล่านี้จำนวนไม่น้อย นั้นจะมีความรู้สึกเหยียดผิว ซึ่งรวมทั้งการเหยียดชาวยิวด้วย ไม่ว่าจะมีการแสดงออกหรือไม่ก็ตาม

ดังนั้นขบวนการของโซรอส จึงทำเพื่อขยายผลในการปลูกฝังให้คนผิวสีให้การสนับสนุนทางการเมือง และจะเป็นตัวคานพลังคนผิวขาวที่อาจจะเข้ามามีบทบาททางการเมืองเหมือนในอดีต และอาจเลยเถิดไปถึงการเหยียดศาสนา นั่นคือ ยิวและมุสลิมก็ได้

ปลายเดือนพฤศจิกายน 2022 สถาบันระหว่างประเทศเพื่อความช่วยเหลือด้านประชาธิปไตยและการเลือกตั้ง (International Institute For Democracy and Electoral Assistance (IDEA) ในสวีเดนได้เผยแพร่ข้อมูลจากงานวิจัย ซึ่งได้ทำการวิจัยสถานการณ์ประชาธิปไตยดังเช่นทุกปี ชื่อว่า “Global State of Democracy 2022” Forging Social Contracts in A Time of Discontent”

ทั้งนี้ IDEA ได้แบ่งการปกครองออกเป็น 3 รูปแบบได้แก่ ระบอบประชาธิปไตย อำนาจนิยม และแบบลูกผสม

ระบอบประชาธิปไตยนั้นได้กำหนดคุณสมบัติว่า การเลือกตั้งต้องสะท้อนความต้องการของประชาชน ฝ่ายค้านต้องมีโอกาสชนะ ทุกเพศทุกกลุ่มได้สิทธิเลือกตั้งโดยเท่าเทียมกัน ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างมีพลัง สามารถตรวจสอบรัฐบาล ศาลเที่ยงธรรม สื่อมีอิสระ ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน มีประชาธิปไตยในระดับท้องถิ่น

ที่สำคัญ IDEA ยังเน้นว่าลำพังมีรัฐบาลประชาธิปไตยยังไม่พอ ต้องเป็นรัฐบาลที่บริหารประเทศได้ดีมีประสิทธิภาพตอบสนองความต้องการของประชาชน เพราะประชาชนต้องการผู้บริหารที่จะทำความอยู่ดีกินดีมีสุขมาสู่ประชาชน

และจากการสำรวจพบว่าประชาธิปไตยในสหรัฐฯนั้นถดถอยปานกลางถึงมาก ที่น่าเป็นห่วงคือ ผู้นำประเทศที่มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้ทำลายสถาบันการเมือง ความเป็นประชาธิปไตยจึงถดถอย

นี่คือผู้นำโลกประชาธิปไตยที่วางหลักให้ประเทศอื่นๆปฏิบัติด้วยระเบียบโลกใหม่ ที่ตนเป็นผู้กำหนด แต่ตัวเองกลับถดถอยในระบอบประชาธิปไตย และยังมีสองมาตรฐาน นั่นจึงเป็นสาเหตุที่การนำของสหรัฐฯเสื่อมโทรมลง และมีการเรียกร้องให้มีการใช้ “New Fair Order” “ระเบียบโลกที่เป็นธรรม”