ตามที่ปรากฏข่าวในโซเชียลมีเดีย เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2566 กล่าวหาว่ากรมสอบสวนคดีพิเศษ “แย่งคดี ปอศ. ช่วยแก๊งสวาปาล์ม” กรณีรับโอนคดีกล่าวหาผู้บริหารของบริษัทโกลบอลกรีน เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (GGC) กระทำความผิดอาญาฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา และความผิดตามพระราชบัญญัติ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 จากกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับ อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มาดำเนินการเสียเองทั้งที่คดีใกล้จะเสร็จ จนมีการออกหมายเรียกผู้ต้องหาเพื่อมารับทราบข้อกล่าวหาและเตรียมสรุปสำนวนการสอบสวนแล้วนั้น  กรมสอบสวนคดีพิเศษขอขอบคุณที่สื่อมวลชนให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติงาน และเป็นโอกาสที่จะได้ อธิบายกระบวนการทางกฎหมายในการสืบสวนและสอบสวนคดีพิเศษ ตามพระราชบัญญัติการสอบสวน      

คดีพิเศษ พ.ศ.2547 ให้สาธารณชนทราบ จึงขอชี้แจงข้อเท็จจริงว่า เดิมเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2561 บริษัท   โกลบอลกรีน เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (GGC) ได้เข้าร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามการ กระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวหาให้ดำเนินคดีอาญากับ ผู้บริหารของบริษัทโกลบอลกรีน เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (GGC) ฐานฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญา กรณี ตรวจพบหลักฐานว่าระหว่างปี พ.ศ.2557 – พ.ศ.2561 ได้กระทำการทุจริตสั่งซื้อน้ำมันปาล์มดิบแล้วออกใบรับ สินค้าโดยยังไม่ได้รับสินค้าทำให้บริษัท โกลบอลกรีนฯ จ่ายเงินค่าสินค้าให้กับบริษัทคู่ค้ามีมูลค่าความเสียหาย รวมประมาณ 2,078,760,000 บาท โดยกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทาง เศรษฐกิจได้รับคดีอาญาดังกล่าวไว้ทำการสอบสวน ภายหลังสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาด หลักทรัพย์ ได้มีหนังสือกล่าวโทษกรรมการผู้มีอำนาจหรือผู้บริหารของบริษัท โกลบอลกรีนฯ ในขณะเกิดเหตุ กระทำการเข้าข่ายเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ด้วย ซ่ึงทางการ สอบสวนของกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ พบว่าเข้าข่าย เป็นคดีพิเศษที่จะต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547 เนื่องจากได้มีประกาศ คณะกรรมการคดีพิเศษ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2565 เรื่อง กำหนดรายละเอียดของลักษณะของการกระทำความผิดที่ เป็นคดีพิเศษตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547 ข้อ 4 ประกอบ บัญชีท้ายประกาศฯ ข้อ 11 กำหนดให้คดีความผิดที่มีโทษตามมาตรา 281/2 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (กรรมการหรือผู้บริหารบริษัทไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ความระมัดระวัง และความสุจริต จนเป็นเหตุให้บริษัทเสียหาย) กรณีที่มีมูลค่าความเสียหายตั้งแต่หนึ่งร้อย ล้านบาทขึ้นไป จึงมีหนังสือส่งสำนวนการสอบสวนมายังกรมสอบสวนคดีพิเศษ เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2566 ซึ่งกรมสอบสวนคดีพิเศษได้พิจารณาตามหลักเกณฑ์กฎหมายแล้ว รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ  รักษาราชการแทนอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ จึงมีคำสั่งเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2566 ให้รับคดีอาญาดังกล่าวไว้ ทำการสืบสวนและสอบสวนตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547 โดยรับสำนวนการสอบสวน ดังกล่าวมาเป็นส่วนหนึ่งของสำนวนการสอบสวนคดีพิเศษ ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 22 ของกฎหมาย จึงทำให้ พยานหลักฐานทุกประการที่ดำเนินการมาแล้วต้องถูกนำมาประกอบการพิจารณาในการสืบสวนและสอบสวน  คดีพิเศษและจนตลอดกระบวนการยุติธรรม อันเป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนและกระบวนการของกฎหมาย  ทุกประการ จึงประชาสัมพันธ์มาเพื่อทราบโดยทั่วกัน