เมื่อวันที่ 27 ก.พ.67 ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานครขอสรุปผลการตรวจวัด PM2.5 วันที่ 27 ก.พ. 2567 เวลา 05.00-07.00 น. (3 ชั่วโมงล่าสุด)

- ตรวจวัดได้ 22.3-41.7 มคก./ลบ.ม.

- ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 31.4 มคก./ลบ.ม.

- ค่า PM2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้มเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 9 พื้นที่

ทั้งนี้ ณ เวลา 07.00 น. ตรวจวัดค่าฝุ่นละออง PM2.5 ได้ในช่วง 22.7 - 41.7 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเมื่อวานในช่วงเวลาเดียวกัน และพบว่าเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (มาตรฐานไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 9 พื้นที่ คือ

1.เขตจตุจักร บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : มีค่าเท่ากับ 41.7 มคก./ลบ.ม.

2.เขตปทุมวัน หน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์ : มีค่าเท่ากับ 41.1 มคก./ลบ.ม.

3.เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 40.8 มคก./ลบ.ม.

4.สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา : มีค่าเท่ากับ 40.1 มคก./ลบ.ม.

5.เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน : มีค่าเท่ากับ 39.5 มคก./ลบ.ม.

6.เขตบางพลัด ภายในสำนักงานเขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 39.5 มคก./ลบ.ม.

7.เขตประเวศ ด้านหน้าห้างสรรพสินค้าซีคอน สแควร์ : มีค่าเท่ากับ 39.5 มคก./ลบ.ม.

8.เขตบางรัก ข้างป้อมตำรวจหน้าลานบางรักเลิฟลี่ พลาซ่า : มีค่าเท่ากับ 38.8 มคก./ลบ.ม.

9.เขตบึงกุ่ม ภายในสำนักงานเขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 37.8 มคก./ลบ.ม.

ข้อแนะนำสุขภาพ:

คุณภาพอากาศระดับสีส้ม: เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

ประชาชนทั่วไป : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร

จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก

ควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา

ประชาชนกลุ่มเสี่ยง : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร

เลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์

1. ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง(คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่นPM2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา)

ในช่วงวันที่ 27 ก.พ.- 3 มี.ค. 67 การระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ดี ประกอบกับอากาศใกล้ผิวพื้นมีลักษณะค่อนข้างเปิดสลับปิด ส่งผลให้ความเข้มข้นของฝุ่นละอองมีค่าต่ำ และคาดการณ์วันนี้มีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่

2. จากการตรวจสอบข้อมูลจุดความร้อน (hotspot) ผ่านดาวเทียม จากหน่วยงาน NASA พบจุดความร้อนที่ดาวเทียมตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติจากค่าความร้อนบนผิวโลกบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานครในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567 จำนวน 1 จุด เวลา 01.45 น. แขวงคันนายาว เขตคันนายาว

(เพลิงไหม้สงบเรียบร้อยแล้ว)

3. แจ้งเตือนรวมถึงประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตรวจสอบข้อมูลคุณภาพอากาศก่อนออกจากบ้าน ผ่านทาง

- แอปพลิเคชัน AirBKK

- www.airbkk.com

- www.pr-bangkok.com

- FB: สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร

- FB: กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม

- FB: กรุงเทพมหานคร

- LINE ALERT

- LINE OA @airbangkok

ทั้งนี้ กรณีประชาชนพบเห็นแหล่งกำเนิดมลพิษสามารถแจ้งเบาะแส ผ่านทาง Traffy Fondue

รายงานข้อมูลโดย: ทีมโฆษกศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร

แหล่งข้อมูล: ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร กรมอุตุนิยมวิทยา และสํานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ