หมายเหตุ : “กิตตินันท์  ธรมธัช”  นายกสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย ให้สัมภาษณ์พิเศษรายการ “สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์” ออกอากาศทางช่องยูทูบ Siamrathonline  เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2567 ในฐานะนักกฎหมาย ทนายความที่ร่วมขับเคลื่อนร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ต่อสู้เพื่อสิทธิ ความเท่าเทียม ให้กับ “กลุ่มหลากหลายทางเพศ” ในประเทศไทย มาอย่างต่อเนื่องกว่า 10 ปี และล่าสุดร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบ จากสภาผู้แทนราษฎร ในวาระที่สาม อีกทั้งผ่านความเห็นชอบจากวุฒิสภา ในวาระแรก ไปเรียบร้อยแล้ว

- ขออัพเดทสถานการณ์เรื่องของกฎหมายสมรสเท่าเทียม ย้อนกลับไปถึงวันที่เริ่มต้นกฎหมายสมรสเท่าเทียม จนถึงวันนี้เมื่อวุฒิสภามีมติรับหลักการรับร่างในวาระที่ 1 ไปแล้ว เมื่อที่ 2 เมษายนที่ผ่านมา วันนี้เราบอกได้หรือยังว่านี่คือชัยชนะ ดอกผลแห่งความสำเร็จ ของการที่เราต่อสู้มา นับ10 ปีแล้ว

ขอย้อนหลังไปถึงกระบวนการของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นที่ทราบดีแล้ว เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2567 ได้ผ่านวาระ 2 รายมาตรา และก็วาระ 3 ทั้งฉบับเรียบร้อย จากนั้นเมื่อวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมา วุฒิสภา ได้รับหลักการร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม  หากจะถามว่าเป็นชัยชนะได้หรือไม่ ก็ต้องบอกว่าเป็นชัยชนะสูงสุดเพราะสมาชิกวุฒิสภาเองก็ได้เห็นด้วยกับกฎหมายนี้มาสักในระยะหนึ่งแล้ว ในการที่มีการสร้างองค์ความรู้ความเข้าใจต่างๆและเวทีของภาคประชาชนที่จับคู่กับทางสมาชิกวุฒิสภา ก็ได้รับการตอบรับอย่างดี ดังนั้น process ของความเป็นชัยชนะก็เกือบจะพูดได้ว่ามันครบถ้วน 100% ได้ในชั้นสว.ซึ่งจะต้องพิจารณากันใน 3 วาระซึ่งแน่นอนสมาชิกวุฒิสภาก็ต้องตั้งกรรมาธิการวิสามัญเพื่อจะดูเรื่องนี้ในชั้นสว.อีกต่อไป

- ห้วงเวลาของวุฒิสมาชิกชุดนี้ จะหมดวาระลงในวันที่ 11 พฤษภาคม ช่วงรอยต่อระหว่างชุดเก่ากับชุดใหม่ตรงนี้จะมีผลกระทบหรือไม่

เมื่อชัยชนะมันรู้สึกมันจะครบถ้วน 100% แล้ว แต่คำว่าชัยชนะต่อเวลาอาจจะไม่ได้สอดคล้องกันเนื่องจากว่าสว.ชุดนี้จะหมดวาระลงในวันที่ 11 พฤษภาคม ตามรัฐธรรมนูญที่ให้วาระเอาไว้ ดังนั้นเมื่อจะเข้าสู่การพิจารณา ก็ต้องเข้าเป็นการเปิดประชุมวุฒิสภา ตอนช่วงเดือนกรกฎาคม ซึ่งแน่นอนก็จะเป็นช่วงหลังเดือนพฤษภาคมแล้ว ช่วงนั้นก็เรียกว่าเป็นสว.รักษาการ และคำว่ารักษาการก็มีประเด็นที่น่ากังวลอยู่ว่าหลังจากที่มีการพูดคุยกันในหลายๆส่วน พบว่าเมื่อมีกฎหมายฉบับนี้ออกมา ต้องมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมอาจจะทำให้สว.รักษาการชุดนี้ อาจจะไม่ประสงค์ที่จะทำ ก็อาจจะพยายามส่งต่อไปให้เป็นสวชุด.ใหม่ที่จะพิจารณา ซึ่งกระบวนการตรงนี้เรายังไม่ต้องถามว่าสว.ชุดใหม่จะมีความคิดเห็นอย่างไร แต่กระบวนการคือจะต้องเลื่อนเวลาออกไปอีก แทนที่จะเสร็จในชุดรักษาการเลย

ซึ่งถ้ามีประเด็นข้อที่ 1 คือกรณีที่จะให้สว.ชุดใหม่มาทำกฎหมายที่เรียกว่าเป็นฉบับประวัติศาสตร์แบบนี้ ประเด็นที่ 2 ถ้าหากสว. รักษาการพิจารณาต่อไป ประเด็นก็มีอยู่ว่าความเห็นของสว.รักษาการจะมีความเห็นที่สอดคล้องกับทางสมาชิกสภาผู้แทนฯหรือไม่ สมมติว่ากรณีเห็นด้วยก็สามารถเดินไปต่อ  แต่ถ้ากรณีเกิดไม่เห็นด้วยบางเรื่อง รัฐธรรมนูญเขียนไว้ว่าต้องไปตั้งกรรมาธิการร่วมกันระหว่างสส.กับสว. ก็กลายเป็นว่าเวลาก็อาจจะถูกเลื่อนไป อาจจะมากกว่ากรณีแรกที่เป็นสว.ชุดใหม่ด้วยซ้ำไป อันนี้เป็นที่น่ากังวล

ส่วนกรณีที่ 3 ก็อาจจะเกิดขึ้นได้จากสว.ที่เป็นชุดใหม่ และก็อาจจะมีความเห็นที่ไม่สอดคล้อง ก็อาจจะต้องร่างประเด็นกรรมาธิการร่วมกันอีก ดังนั้นโซลูชั่น ทั้ง3 ข้อ  น่าจะต้องมีทางออกไปลักษณะที่เป็นเรื่องของเงื่อนเวลามากกว่า เพียงแต่มันจะไปตกในประเด็นไหนเท่านั้น

- ในเรื่องของกระบวนการขั้นตอนกว่าจะออกมาเป็นกฎหมายมีผลบังคับใช้เดินหน้าไป แต่ขณะเดียวกัน น่าสนใจว่ากลไกต่างๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน ตลอดจนความเข้าใจของสังคม นั้นต้องมีความพร้อมควบคู่ไปด้วย

เรื่องของกลไกจัดการ เมื่อหลังจากที่กฎหมายสมรสเท่าเทียมผ่านแล้ว พบว่าประเด็นปัญหาอยู่ที่ว่าเมื่อมีการผ่านแล้วกฎหมายอื่นๆใดๆประมาณสัก 47 ฉบับก็ต้องได้ถูกการรับการแก้ไขด้วย เพราะว่าเราเปลี่ยนคำว่าบุคคลเป็นชายหญิง เราเปลี่ยนคำว่าคู่สมรส เป็นสามีภรรยา เพราะฉะนั้นกฎหมายอื่นๆยังมีคำว่าสามีภรรยาอยู่อีกเยอะไม่ว่าจะเป็นประมวลรัษฎากรหรือกฎหมายใดๆก็แล้วแต่อีก 47 ฉบับ ตรงนี้ในบทเฉพาะกาลก็บอกให้นำไปใช้ได้แต่ก็ต้องมีการแก้ไขกฎหมายต่อไป

ดังนั้นถือเป็นกลไกอีกส่วนหนึ่งที่จะต้องสร้างความรู้ ความเข้าใจกับทางภาครัฐภาคเอกชน เราจะมีบทเฉพาะแบบนี้ และสุดท้าย ก็ต้องรีบให้ทางนิติบัญญัติ แก้ไขคำว่าสามีภรรยา ให้หมายความรวมถึงคำว่าคู่สมรสหรือเปลี่ยนคำว่าคู่สมรสไปด้วย แต่ใดๆก็แล้วแต่ สิ่งนั้นเป็นฟังก์ชันของเรื่องการแก้ไขกฎหมายที่จะเป็น 47 ฉบับที่ เกี่ยวเนื่องด้วย

แต่ประเด็นสำคัญประกาณหนึ่งคือเรื่องของการเรียนรู้และสร้างความเข้าใจกับภาครัฐกับภาคเอกชนเป็นสิ่งสำคัญมากเลย เพราะเมื่อเป็นกฎหมายใหม่แล้วมีทุกเพศที่จะสมรสกันได้แบบนี้อาจจะมีประเด็นติดขัดในเรื่องแบบฟอร์มหรือสร้างความเข้าใจหรือใดๆก็แล้วแต่ ที่ต้องผลิตออกมาแบบนี้แล้ว ซึ่งการเลือกปฏิบัติอาจจะเกิดขึ้น จากการที่กฎหมายเกิดขึ้นอีกก็ได้ อาจจะมีความรู้ความเข้าใจในพื้นฐานของเขาว่าชายกับชายจะสมรสกันแบบไหน ตรงนี้อันหนึ่งที่คณะกรรมาธิการ เองก็มีความกังวล เพราะฉะนั้นกฎหมายที่ผ่านไป กลไกสร้างความรู้ความเข้าใจอย่างเร่งด่วนในทุกภาคส่วน หรือแม้กระทั่งทุกกระทรวงจะต้องสร้างความเข้าใจอันนี้  สิ่งนี้เป็นส่วนหนึ่งที่จะเรียนให้ทราบว่าจะต้องทำเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน มิฉะนั้นจะเกิดการเลือกปฏิบัติในฐานผิดกฎหมายเกิดขึ้นได้ และในเรื่องกลไกกฎหมายที่มันเกี่ยวเนื่องกับความหลากหลายทางเพศ ไม่ว่าจะเป็นพระราชบัญญัติรับรองเพศสภาพ หรือกฎหมายเปลี่ยนเพศ หรือแม้กระทั่งกฎหมายเลือกปฏิบัติต่อบุคคลที่ทั้ง 2 ส่วนนี้จะอยู่ในสภาฯด้วย และกำลังจะเข้าด้วย เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็เป็นกฎหมายที่เกี่ยวเนื่องด้วย ซึ่งต้องสร้างความเข้าใจและก็รณรงค์ให้เกิดกฎหมายที่เกี่ยวเนื่องได้อีกในขั้นตอนหนึ่ง

เมื่อกฎหมายออกมาแล้ว ต้องไปที่ข้อแก้ไขกฎหมายและบทเฉพาะกาล ให้ใช้ได้ทันที ต้องสร้างความรู้ความเข้าใจแทบ ต้องทุกกระทรวง เพราะมันเกี่ยวเกี่ยวเนื่องไม่ว่าจะเป็นกระทรวงการต่างประเทศกระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงกระทรวงพม. กระทรวงยุติธรรมทุกอย่างมันต้องสร้างความเข้าใจ เรื่องนี้หมดเลย

-วันนี้อยากขอบคุณใครบ้างที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จการผลักดันกฎหมายประวัติศาสตร์ครั้งนี้รวมทั้งตัวคุณแอนนี่เองที่สู้มา 10 ปี

ถ้าพูดแบบนี้แล้วต้องขอขอบคุณ “ผู้มีส่วนได้-ส่วนเสีย” ก็แล้วกันหรือเซ็กซ์โฟลเดอร์ ซึ่งตนเองพยายามจะบอกว่าการที่จะออกกฎหมายอะไรก็แล้วแต่ การสร้างความรู้ ความเข้าใจหรืออะไรก็แล้วแต่ อยู่ตรงพื้นฐานของเซ็กซ์โฟลเดอร์ ทั้งหมดอันที่ 1 ก็คือ เซ็กซ์โฟลเดอร์ก็คือผู้กำหนดนโยบายอันนี้ปฏิเสธไม่ได้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพรรคการเมืองตัวแทนของภาคประชาชนที่จะเข้าไปพูด รวมถึงฝ่ายรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายค้านฝ่ายรัฐบาลที่เป็นฝ่ายบริหารใดๆ ที่สำคัญที่สุดคือเซ็กซ์โฟลเดอร์คือผู้กำหนดนโยบาย

ส่วนที่ 2 ก็คือภาคขององค์การระหว่างประเทศที่ต้องขอสนับสนุนและก็ขอบคุณที่เขามีโมเดลต่างๆและประชาคมโลกก็พยายามที่จะเอาเราเข้าไปในรายงาน upr ต่างๆแล้วก็ถามไถ่มาแล้วก็มีโรลโมเดลต่างๆให้เราเข้าใจแล้วก็ศึกษาทางกฎหมายต่างประเทศ เพราะฉะนั้นภาคองค์การระหว่างประเทศก็ถือเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ส่วนที่ 2 ที่เราต้องขอบคุณ

ส่วนที่ 3 เลยก็คือขอบคุณตัวเอง ขอบคุณภาคประชาสังคม ซึ่งภาคประชาสังคมก็ไม่ได้มีแค่ สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังมีมูลนิธิที่มีสมาคมมากกว่า 50 องค์กรในประเทศไทยที่ลุกขึ้นมาขับเคลื่อน ถ้าเราตามงานจริงๆ 11 ปีที่ผ่านมา จะพบว่าทุกองค์กรขับเคลื่อนไม่ใช่น้อย อันนี้ก็ต้องขอขอบคุณภาคประชาคม ซึ่งเป็นตัวแทนของภาคประชาชนต่างๆ

และท้ายที่สุดเลยต้องขอขอบคุณเจ้าของปัญหาจริงๆก็คือคนที่มีปัญหา ที่ถูกเลือกปฏิบัติไม่ว่าจะเป็นเรื่องสวัสดิการ ระหว่างที่เขาดูแลกันไม่ได้การเซ็นยินยอมผ่าตัด การอุปการะเลี้ยงดู ซึ่งดูเหมือนเป็นพลเมืองชั้น 2 หรือไม่ใช่เป็นพลเมืองเลย ถ้าเราไปเทียบกับชายหญิงทั่วไปที่มีเรื่องของการหย่า การสมรส อุปการะเลี้ยงดูบุตรบุญธรรม มรดกต่างๆสวัสดิการอะไรต่างๆ แต่กลุ่มหลากหลายทางเพศเราแทบไม่มีเลย ดังนั้นถ้าหากเจ้าของปัญหาคนนี้ไม่ลุกขึ้นมาสะท้อนให้เห็นว่าเขาขาดประโยชน์อะไร ก็ทำให้สังคมนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างนั้นไม่ได้

เพราะฉะนั้นใดๆก็แล้วแต่ ขอขอบคุณผู้มีส่วนได้เสีย หรือ เซ็กซ์โฟลเดอร์ ทั้งหมด ณ วันนี้เราก็มีความสุขว่ากลไกต่างๆมันถูกขับเคลื่อนไปพร้อมๆกัน แต่มันอาจจะมีวิถีความยากลำบากเรื่องของความรู้ความเข้าใจทัศนคติ  แต่ทุกอย่างมันก็ฝ่าฟันไปได้ ถ้าเทียบกับในหลายๆประเทศในโลก 35 ประเทศที่มีกฎหมายสมรสเท่าเทียม บางประเทศก็ใช้เวลา 4 ปีก็มี บางประเทศใช้เวลา 10 ปี 15 ปีก็มี เพราะฉะนั้นประเทศไทยก็คงอยู่ใน ลูปแบบนั้น และวันนี้เราภูมิใจมากที่เราจะกลายเป็นโมเดลอันหนึ่ง ที่ให้ในเอเชียด้วยกัน อาจจะเป็นไทยแลนด์โมเดล เพราะว่าถ้าเราสำเร็จจริง ทุกคนทราบแล้วว่าเราจะเป็นประเทศที่ 1 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และก็จะเป็นประเทศที่ 3ของทวีปเอเชียซึ่งต่อจากเนปาลแล้วก็เอสโตเนีย

แต่ขอฝากไว้คือข้อกังวล ว่าอยากให้สว.จะพิจารณาโดยไวแล้วในความเข้าใจบนพื้นฐานจริงๆเพราะว่าคำว่าบุพการีลำดับแรกกลายเป็นประเด็นปัญหา ซึ่งตนเองจะไม่ได้คลี่ปัญหาให้ฟัง คือเหมือนกับว่าคนที่เป็นคู่ชายชาย หญิงหญิง เขาก็ไม่ทราบจะเรียกใครเป็นบิดาเป็นมารดา จะกลายเป็นถูกเลือกปฏิบัติซ้ำซ้อนหนักไปอีกตั้งแต่เป็นปัญหาสังคมเราก็เลยมีการคิดคำนี้ขึ้นมาของภาคประชาชน เดิมทีคิดแค่บุพการีแต่สุดท้ายความหมายของประเทศไทยมันก็หมายความเป็นถึงปู่ย่าบิดามารดาปู่ย่าตาชวดไปด้วย เขาก็เลยใช้เป็นเอาคำว่า “ลำดับแรก”มาต่อ ซึ่งก็อาจจะหมายความถึงบิดามารดา แต่สังคมไทยเรายังไม่มีคำนี้แล้วต้องไปแก้กฎหมาย 700-800 ฉบับ      ซึ่งจริงๆทางกรรมาธิการของทางภาครัฐก็ได้ชี้แจงในสภาฯขึ้นมาแล้วว่าจริงๆเห็นด้วย เพราะจะเป็นการขจัดปัญหาในการเรียกคำเรียกชื่อต่างๆแต่สุดท้ายสุดกฎหมายยังต้องไปแก้ไขอีก 700-800 ฉบับและคำนี้ก็เป็นคำใหม่ซึ่งยังไม่มีคำนิยามเลยชัดเจนว่าลำดับแรกคือใครและก็อีกหน่อยต้องมีบุพการีลำดับ 2 ลำดับ 3 อีกก็เลยกลายเป็นว่าถ้าประชาชนเองก็ต้องไปทำงานด้านนี้ต่อ ซึ่งหมายความว่าอาจจะมีกฎหมายสมรสเท่าเทียมแล้วก็ได้ถ้าสว.เห็นพร้อมทั้งหมด แต่สุดท้ายก็อาจจะต้องมีการไปยื่นแก้กฎหมายในส่วนตรงนี้อีกในลำดับต่อไปถ้ามีกฎหมายใช้แล้วหรืออาจจะไปต้องใช้เวลา ที่ต้องไปถกในสว.ซึ่งก็อาจจะได้คำนี้กลับคืนมาหรือไม่ แต่บังเอิญอยู่ในช่วงสมาชิกวุฒิสภาก็อยากจะส่งเสียงอันนี้เข้าไปในรายการนี้ด้วย เพื่อให้สว.ได้คำนึงถึงเรื่องนี้ด้วย ว่าเราต้องการกฎหมายตัวนี้แต่จะออกมาในรูปลักษณ์ของใดๆก็แล้วแต่

เวลาอาจจะเร็ว ถ้ากระบวนทุกอย่างเสร็จสิ้น ซึ่งคิดว่าในเดือนธันวาคมก็น่าจะได้ใช้กฎหมายสมรสเท่าเทียมแล้ว เนื่องจากประกาศราชกิจจานุเบกษา แล้วต้องรออีก 120 วันหรือ 4 เดือนก็จะไปตกช่วงธันวาคมพอดี และก็มีกลไกต่างๆที่เรียนไปข้างต้นก็อาจจะทำให้กระบวนการเวลามันล่าช้าไป อาจจะกลายเป็นมิถุนายน 2568 หรืออาจจะไปถึง ธันวาคม 68 เลยหรือไม่ ก็ไม่ทราบ ตรงนี้ที่เรามีความกังวล