ตำรวจสอบสวนกลาง-ป.ป.ท.เขต 6-ป.ป.ป.บุกตรวจทรัพย์สินเงินวัดท่าหลวง หลังเจ้าคณะจังหวัดต้องสึกจากเหตุฉาว "สีกากอล์ฟ"

เมื่อเวลา 11.15 น. วันที่ 16 ก.ค.68 ตำรวจสอบสวนกลาง-ป.ป.ท.เขต 6-ป.ป.ป. ได้ร่วมกันเข้าตรวจทรัพย์สิน-บัญชีเงินฝากธนาคาร-ทรัพย์สินอื่นๆ ของวัดท่าหลวง พระอารามหลวง อ.เมืองพิจิตร ทั้งนี้สืบเนื่องจาก ข่าวฉาวเจ้าคณะจังหวัดพิจิตร เจ้าอาวาสวัดท่าหลวง ที่ตกเป็นข่าวพัวพันกับสีกากลอฟ จากนั้นเมื่อวันวานที่ผ่านมา (15 ก.ค. 68 ) ได้ขอสึกจากการเป็นพระสงฆ์ และทำให้ตำแหน่งต่างๆ หมดสภาพตามไปด้วย จึงทำให้ต้องมีการตรวจทรัพย์สิน โดยมีไวยาวัจกร ซึ่งปกติจะมี 3 ท่าน  แต่วันนี้อยู่เผชิญหน้ารับการตรวจเพียง 2 ท่าน คือ นายพลกิต (ขอสงวนนามสกุล), นายอู๋ (ไม่ทราบนามสุกล) และนายพัฒน์ (ไม่ทราบนามสกุล) แจ้งว่าป่วยไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจร่างกาย

จึงมีนายพลกิต , นายอู๋ นำพาตรวจบัญชีทรัพย์สินของวัด ซึ่งมีบัญชีเงินฝาก 30 บัญชี ซึ่งส่วนใหญ่ฝากไว้ที่ธนาคาร และบางส่วนมีเงินฝากประจำในนามมูลนิธิพระทีฆทัสสีมุนีวงศ์ (ไป๋ นาควิจิตร) ที่นำดอกผลมาใช้เพื่อเป็นทุนการศึกษาพระภิกษุสามเณรที่โรงเรียนหลวงพ่อเพชร โดยนายพลกิต ไวยาวัจกร ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่าตนเองเข้ารับตำแหน่งในช่วงระหว่างปี 58/59 ซึ่งตอนนั้นมี พระราชวิจิตรโมลี หรือ หลวงปู่บุญมี เป็นเจ้าอาวาสวัดท่าหลวง หลังจากที่ท่านได้มรณภาพจากไปเมื่อวันที่ 18 พ.ค. 2563 ก็ได้มีการแต่งตั้ง พระเทพวัชรสิทธิเมธี ให้ดำรงตำแหน่งเจ้า เจ้าคณะจังหวัดพิจิตร  และเจ้าอาวาสวัดท่าหลวง จนถึงเมื่อวันที่ 15 ก.ค.68  ที่ตกเป็นข่าวฉาวพัวพันสีกากอล์ฟและได้สึกจากการเป็นพระไปแล้วนั้น จากการตรวจบัญชีจึงมีบัญชีให้เข้ารับการตรวจตั้งแต่ปี 58 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งบัญชีต่างๆเหล่านี้  นายพลกิต  ที่เดินนำพาตรวจพร้อมกับเจ้าหน้าที่สำนักงานที่เป็นสุภาพสตรีอีก 2 ท่าน ก็ยืนยันว่าสำนักพุทธศาสนาจังหวัดพิจิตร มาตรวจทุกปี รวมถึงก่อนหน้านี้ ป.ป.ช.พิจิตร –สตง.พิจิตร และส่วนกลางก็เคยมาตรวจอยู่เป็นประจำ ซึ่งก็ไม่พบความผิดหรือจุดบกพร่องแต่อย่างใด

จากที่ตำรวจสอบสวนกลาง-ป.ป.ท.เขต 6-ป.ป.ป.เข้าตรวจวันนี้พบข้อสงสัย คือ รายการบัญชีของปี 62 ที่หายไป แต่ก็ได้ชี้แจงไปว่าช่วงนั้น พระมหาวรพล ซึ่งเป็นพระเลขาฯ และสมุห์บัญชีใหม่ของวัดท่าหลวง แต่ท่านได้ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์เสียชีวิตในปีนั้น จึงทำให้เอกสารของปี 62 หาไม่เจอ แต่ในช่วงนั้นวัดท่าหลวง ก็ไม่ได้มีรายรับหรือทรัพย์สินใดๆ ที่มากขึ้นจนเป็นที่น่าผิดสังเกต ส่วนเงินสดจากตู้บริจาคภายในพระอุโบสถวัดท่าหลวง ซึ่งจะมีการเปิดกุญแจไขตู้นับเงินทุกๆ 15 วัน ก็จะได้เงินสดเพียงแค่หลักแสนต้นๆเท่านั้นอัตราเฉลี่ยเงินทำบุญ-เงินจำหน่ายดอกไม้ธูปเทียน ก็จะได้เพียงวันละ 5,000-10,000 บาท เท่านั้นส่วนงานอีเว้นท์หรืองานเทศกาลต่างๆ เช่น งานแข่งเรือต้นเดือนกันยายนของทุกปี , งานนมัสการหลวงพ่อเพชร 21-31 มกราคา ของทุกปี รายรับ-รายจ่าย ซึ่งเป็นเงินอุดหนุนจากจังหวัดพิจิตร อปท. –อบจ.พิจิตร ก็จะถูกควบคุมตรวจสอบโดยเสมียนตรา – คลังจังหวัดพิจิตร เป็นปกติอยู่แล้ว ส่วนสมุดเงินฝาก 30 เล่ม ของวัดท่าหลวง เจ้าหน้าที่ของวัดกำลังนำสมุดเงินฝากทั้งหมดไปให้ธนาคารเพื่อปรับยอดเงินให้เป็นปัจจุบันเพื่อเข้ารับการตรวจจึงยังทำให้ไม่สามารถทราบได้ว่ามีเงินสดคงเหลือในบัญชีแต่ละเล่นยอดรวมเหลือเท่าไหร่ แต่คงจะทราบได้ภายในวันนี้ ส่วนเงินของ มูลนิธิพระทีฆทัสสีมุนีวงศ์ (ไป๋ นาควิจิตร) ซึ่งฝากไว้ใช้ได้แค่เพียงดอกผลอยู่ที่สหกรณ์ออมทรัพย์ครูพิจิตร 5 ล้านบาท และที่ ธนาคารจำนวนแสนกว่าบาท ที่ธนาคารกสิกรไทยในสมัยของ พระราชวิจิตรโมลี หรือ หลวงปู่บุญมี อดีตเจ้าอาวาสวัดท่าหลวง นั้น ก็มีเพียงแค่หลักพัน แต่บัญชีไม่มีการเคลื่อนไหวมานานแล้ว ซึ่ง ตำรวจสอบสวนกลาง-ป.ป.ท.เขต 6-ป.ป.ป.ก็จะได้ตรวจสอบโดยละเอียดต่อไป ส่วนพระบูชาหรือวัตถุมงคลที่มีมูลค่า-รวมถึงบัญชีรายรับ-รายจ่าย มอง มจร.พิจิตร ที่อดีตเจ้าอาวาสที่สึกไปแล้วนั้นดูแลบริหารจัดการก็จะขอตรวจสอบโดยละเอียดต่อไปด้วยเช่นกัน